ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ -
- หน้าที่ 150
ภาชนะแล้ว ควรฉันก่อน หรือดื่มยาคูก่อนก็ได้ เพราะว่าเธอ
ปนกับลงในข้าวต้ม เมื่อกับมีปลาร้าเป็นต้นปนลงไป ยาคูจะปฏิกูล
ไปเสีย อันภิกษุผู้จะฉัน ทำให้เป็นของไม่ปฏิกูลนั่นแหละฉัน จึงควร
เหตุนั้น ข้อนี้ข้าพเจ้ากล่าวหมายเอากับข้าวรูปนั้น แต่สิ่งใดเป็นของ
ไม่น่าเกลียดเช่นน้ำผึ้งและน้ำตาลกรวด สิ่งนั้นพึงปนลงไปได้ แต่เมื่อ
จะรับ (สิ่งนั้น) จึงรับแต่พอประมาณ ใช้มือ (ข้างหนึ่ง) ถือผักสด
และมันดิบฉัน ก็ควร แต่ไม่ทำอย่างนั้น ก็ต้องใส่ลงในบาตรเท่านั้น
ก็เพราะห้ามภาชนะที่ ๒ ของอื่นแม้แต่ใบไม้ (จะเอามารอง) ก็ไม่
ควรแล นี้เป็นวิธี (ปฏิบัติ) แห่งปัตตปิณฑิกภิกษุนั้น
[ ประเภทแห่งปัตตปิณฑิกภิกษุ]
ว่าโดยประเภท แม้ปัตตปิณฑิกภิกษุนี้ก็มี ๒ จำพวก ใน ๓
พวกนั้น สำหรับผู้ที่ถืออย่างอุกฤษฎ์จะทิ้งกากก็ไม่ควร เว้นแต่เวลา
เดี๋ยวอ้อย” จะบิก้อนข้าว ปลา เนื้อ และขนมฉัน (เป็นอย่างๆ)
ไม่ควร สำหรับผู้ถืออย่างกลาง จะใช้มือข้างเดียวบิฉันก็ควร ภิกษุ
ผู้ถืออย่างกลางนี้ จึงชื่อว่า หัตถโยคี (โยคีมือ) ส่วนผู้ถืออย่างเพลา
มีชื่อว่า ปัตตโยคี (โยคีบาตร) สำหรับผู้ถืออย่างเพลานั้น สิ่งใด
อาจจุลงในบาตรได้ จะบสิ่งนั้นด้วยมือหรือด้วยฟันเคี้ยวกินก็ได้หมด
๑. เห็นจะเป็นพวก "น้ำบูดู"
ของแขก ๒. มหาฎีกาขยายความข้อนี้ไว้ว่า ปฏิกูลสุส
ภุตสฺส อสฺณฐานมฺปิ สิยา ของปฏิกูล ขืนกินเข้าไป มันก็จะกลับออกมาหมด. ๓. คงจะ
หมายถึงการที่พอจะฉันได้ ส่วนกากที่หยาบเต็มที่ เช่นชานอ้อย ก็ทิ้งคือคายได้เช่นนั้นกระมัง ?
๔. คือให้ฉันแบบ (สำ) รวม ถ้าไปบิฉันเป็นอย่าง ๆ ก็จะเป็นอย่าง ๆ ก็จะเป็นทางให้เกิดรสตัณหา
ขึ้น ?