วิสุทธิมรรค: ยถาสันตฤติกภิกษุ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 173
หน้าที่ 173 / 184

สรุปเนื้อหา

การปฏิบัติในยถาสันตฤติกภิกษุเกี่ยวข้องกับการรับเสนาสนะที่จัดสรร และแบ่งเป็น 3 ประเภทตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล ผู้ถืออย่างอุกฤษฎ์จะไม่ใคร่ถาม หากมีความโลเลในเสนาสนะอาจส่งผลต่อการปฏิบัติ และหากเสนาสนะที่ได้รับไม่ตอบโจทย์สุขภาพ ก็สามารถเลือกเสนาสนะอื่นที่เหมาะสมได้ อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างในแนวทางจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ปฏิบัติต้องการให้สภาวะโรคของตนหลีกเลี่ยงความไม่เหมาะสม ซึ่งอาจส่งผลต่อการปฏิบัติในระดับต่างๆ, dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-ประเภทยถาสันตฤติกภิกษุ
-เสนาสนะที่เหมาะสม
-แนวทางการตรวจสอบเสนาสนะ
-ธุดงค์และความโลเล
-การเลือกเสนาสนะในสภาวะโรค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 169 [วิธี (ปฏิบัติ) ในยถาสันติยังคะ ] ก็แล ยถาสันตฤติกภิกษุนั้น เสนาสนะใดที่เสนาสนคาหาปกะ แจกให้ว่า "เสนาสนะนี้ได้แก่เธอ" ก็พึงยินดีด้วยเสนาสนะนั้น ไม่ พึง (เลือก) ทำภิกษุอื่นให้ต้องย้าย (เสนาสนะ) นี้เป็นวิธี (ปฏิบัติ) แห่งยถาสันตฤติกภิกษุ [ ประเภทแห่งยถาสันถติกะ ] ใน ๓ พวก ว่าโดยประเภท แม้ยถาสันตฤติกภิกษุนี้ก็มี ๓ พวก นั้น ผู้ถืออย่างอุกฤษฎ์ย่อมไม่ได้เพื่อจะถามถึงเสนาสนะที่ได้แก่ตนว่า อยู่ไกลหรือว่าอยู่ใกล้ไป หรือว่าอันตรายต่าง ๆ มือมนุษย์และทีฆชาติ เป็นต้นรบกวนไหม ว่าร้อนหรือหนาวไหม ผู้ถืออย่างกลางถามได้ แต่ไปตรวจดูไม่ได้ ผู้ถืออย่างเพลา ไปตรวจดู ถ้าเสนาสนะที่แจก ให้นั้นไม่ชอบใจเธอ ถือเอาเสนาสนะอื่นก็ได้ [ ความแตกแห่งยถาสันถติกังคะ ] ก็แล ธุดงค์ของยถาสันถติกภิกษุ ๓ พวกนี้ ย่อมแตกในเมื่อพอ สักว่าความโลเลในเสนาสนะเกิดขึ้น นี้เป็นความแตกในยถาสันติก กังคะนี้. * ถ้าถือเสนาสนะอื่นได้ จะชื่อยถาสันถติกะอย่างไร ? ดังนี้แหละ มหาฎีกาท่านจึงช่วยแก้ว่า ที่ว่าไม่ชอบใจเธอนั้น มิใช่ไม่ชอบเพราะเป็นที่เลว แต่ไม่ชอบเพราะเห็นว่าเสนาสนะนั้นไม่เป็น สัปปายะต่อโรคของเธอ ถ้าเธออยู่ที่นั่นโรคของเธอจะกำเริบ จึงขอให้จัดเสนาสนะอื่นที่เป็นสัปปายะ ให้ใหม่ เพราะฉะนั้น เมื่อโรคไม่มี เลือกอย่างนั้นก็เป็นโลลิปปะ ธุดงค์แตก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More