ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 130
หน้าที่ 130 / 184

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับวิสุทธิมรรคแปลนั้นกล่าวถึงความสำคัญของภิกษุที่มีลักษณะที่เรียกว่า รุกขมูลิกะ และ ยถาสันถตะ พร้อมกับการวิเคราะห์ภูมิธรรมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติของภิกษุที่นั่งและงดนอน มีการอธิบายถึงการปฏิบัติของนักบวชในแนวทางการกำจัดกิเลสโดยการสมาทาน จึงชื่อว่าธุดงค์ ซึ่งมีความสำคัญต่อการเข้าถึงกรรมฐานและการปฏิบัติธรรมอย่างเข้มข้นภายในพระธรรมคำสอน.

หัวข้อประเด็น

-ภิกษุและธุดงค์
-หลักธรรมในวิสุทธิมรรค
-เสนาสนะและการปฏิบัติ
-การกำจัดกิเลสโดยสมาทาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - - หน้าที่ 126 ปกติของภิกษุนั้น เหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่ารุกขมูลิกะ องค์แห่ง ภิกษุรุกขมูลกะนั้น ชื่อว่า รุกขมูลกังคะ, นัยแม้ในอัพโภกาสกังคะ และโสสานิกังคะก็ดุจนัยนี้ เสนาสนะที่ลาดไว้แล้วอย่างไรนั่นแล ชื่อว่า ยถาสันถตะ คำว่า ยถาสันถตะนี้ เป็นชื่อแห่งเสนาสนะที่เสนาสนปัญญาปกะชี้ให้ทีแรก อย่างนี้ว่า "อิท ตุยห์ ปาปุณาติ" (เสนาสนะนี้ย่อมถึงแก่ท่าน) ความอยู่ในเสนาสนะที่ลาดแล้วอย่างไรนั้น เป็นปกติของภิกษุนั้น เหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า ยถาสันถติกะ องค์แห่งภิกษุยถาสันถติกะ นั้น ชื่อว่า ยถาสันติกังคะ การที่งดนอนเสีย (สำเร็จอิริยาบถ) อยู่ด้วยการนั่ง เป็น ปกติของภิกษุนั้น เหตุนั้น ภิกษุนั้น ชื่อว่า เนสัชชิกะ องค์แห่ง ภิกษุเนสัชชิกะนั้น ชื่อว่าเนสัชชิกังคะ ๆ ก็องค์เหล่านี้ทั้งหมดชื่อว่า ธุดงค์ เหตุเป็นองค์แห่งภิกษุ ชื่อว่าธุตะ เพราะความเป็นผู้กำจัดกิเลสได้ด้วยการสมาทานนั้น ๆ อีก อย่างหนึ่ง ชื่อว่า ธุดงค์ เพราะมีญาณที่ได้โวหารว่าธุตะ เหตุเป็น เครื่องกำจัดกิเลสเป็นองค์ อีกนัยหนึ่ง องค์เหล่านั้นชื่อว่าธุตะ เพราะ กำจัดธรรมอันเป็นข้าศึกทั้งหลายได้ด้วย เป็นองค์แห่งความปฏิบัติด้วย เหตุนั้น จึงชื่อว่า ธุดงค์, ในบททั้งหลายเหล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยโดยอรรถดังกล่าวมา ฉะนี้ เป็นอันดับแรก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More