ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ -
- หน้าที่ 140
ในวิหารก็ดี ย่อมควร โดยแท้แล นี่เป็นวิธี (ปฏิบัติ) แห่งปิณฑปาติก
ภิกษุนั้น.
က
[ ประเภทแห่งปิณฑปาติกภิกษุ]
ส่วนว่าโดยประเภท แม้ปิณฑปาติกภิกษุนี้ก็มี ๒ จำพวก ใน
จำพวกนั้น ผู้ที่ถืออย่างอุกฤษฎ์ ย่อมรับภิกษาที่ทายกนำมา (ถวาย
จากเรือน) ข้างหน้าก็ได้ (จากเรือน) ข้างหลังก็ได้ ยืนที่ประตู
บ้านหนึ่ง แม้เมื่อคน (บ้านอื่น ๆ มาขอ) รับบาตรก็ให้ รับภิกษา
ที่เขานำมาถวายในเวลากลับก็ได้ แต่ (เลิกบิณฑบาต) นั่งลงแล้ว
ย่อมไม่รับภิกษา (อีก) ในวันนั้น ผู้ถืออย่างกลาง แม้นั่งลงแล้ว
ยังรับ (อีก) ในวันนั้น แต่ไม่รับ (นิมนต์) เพื่อฉันในวันพรุ่ง
ผู้ถืออย่างเพลา ย่อมรับ (นิมนต์) เพื่อฉันในวันพรุ่งก็ได้ ในวัน
ต่อไปก็ได้ ปิณฑปาติภิกษุทั้ง ๒ ประเภทนั้น ย่อมไม่ได้ความสุข
ในการอยู่โดยเสรี ผู้ถืออย่างอุกฤษฏ์เท่านั้นจึงได้ (ดัง) มีเรื่องเล่าว่า
ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง มี (การแสดงธรรมกถาว่าด้วย) อริยวงศ์ ปิณฑ
ปาติกภิกษุผู้ถืออย่างอุกฤษฎ์ กล่าวกะปิณฑปาติกภิกษุทั้ง ๒ ประเภทว่า
'อาวุโส เรามาไปฟังธรรมกันเถิด" ในภิกษุ ๒ รูปนั้น รูปหนึ่งกล่าวว่า
'ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้า (ติดขัดด้วย) คน ๆ หนึ่งนิมนต์ให้นั่ง (คอย)'
อีกรูปหนึ่งกล่าวว่า "ท่านผู้เจริญ แม้ข้าพเจ้าก็ได้รับนิมนต์เพื่อฉันภิกษา
(คือ วิหาเร ปกกฏตามปี) จึงน่าจะสันนิษฐานว่า ภัตรที่ทางการสงฆ์ จัดแจกให้โดยสลาก
ไม่นับเป็นสังฆภัตรและสลากภัตร เพราะไม่ใช่ภัตรที่ชาวบ้านถวาย จึงควรแก่ภิกษุปิณฑปาติกะ ?
ปฏิกุมเน ลางมติว่า ที่โรงฉัน หอฉัน
*