วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 57 วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 60
หน้าที่ 60 / 184

สรุปเนื้อหา

บทในวิสุทธิมรรคแปลนี้นำเสนอเรื่องของการพูดผูกมัดและเปรียบเทียบกับชีวิตประจำวัน โดยมีการยกตัวอย่างการพูดของภิกษุและอุบาสกว่ามีลักษณะอย่างไร โดยเฉพาะการพูดเพื่อประทับใจซึ่งกันและกัน บทนี้ยังอธิบายถึงลักษณะการพูดที่เป็นธรรมะ รวมถึงการทำความเข้าใจในคำพูดต่างๆ ว่ามีความจริงอยู่เพียงเล็กน้อยและเต็มไปด้วยคำครหาหรือคำหวาน ดังนั้นจึงควรใช้ความระมัดระวังในการพูดยืนยันว่า การพูดที่เหมาะสมควรจะมีพื้นฐานจากความจริงและธรรมะ

หัวข้อประเด็น

-การพูดผูกมัด
-การเปรียบเทียบอ้อย
-ศีลธรรมในคำพูด
-ลักษณะของบุคคลในบทประพันธ์
-การสื่อสารในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 57 อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเห็นเขา เป็นต้น ชื่อว่า อุนุนหนา (พูดผูก) ถืออ้อยแล้ว ถามว่า "อุบาสกได้อ้อยมาแต่ไหน" เขาตอบว่า "แต่ ไร่อ้อย เจ้าข้า" ภิกษุถามว่า "อ้อยไร่นั้นหวานไหม" เขาตอบว่า "เดี๋ยวดูจึงจะรู้เจ้าข้า" ภิกษุจึงพูดว่า "อุบาสก อันจะพูดว่า ท่านจงให้ อ้อย (แก่อาตมา) ดังนี้ หาควรแก่ภิกษุไม่" ถ้อยคำผูกมัดของภิกษุผู้ แม้ (พูด) แก้ไปเช่นนี้อันใด ถ้อยคำนั้นก็ชื่อว่า อุนุนหนา การพูด ผูกแล้ว ๆ เล่า ๆ ทุกท่าทางไป ชื่อว่า สมุนุนหนา (พูดพัน) บทว่า อุกกาปนา อธิบายว่า การพูดปั้นขึ้นว่า "ตระกูลนี้รู้จักฉัน ผู้เดียว ถ้าหากไทยธรรมเกิดขึ้นในตระกูลนี้ เขาย่อมจะให้แก่ฉัน ผู้เดียว" อย่างนี้เรียกว่า อุกกปนา (พูดคาด) อธิบายว่า พูด ก็ ในอธิบายนี้ บัณฑิตควรเล่าเรื่องนางเตลกันทริกา (มาสาธก) การพูดคาดเขาไปเสียทุกอย่าง ชื่อว่า สมุกกาปนา (พูดคั้น) การพูดพร่ำทำให้เขารักไปท่าเดียว ไม่ต้องแลเหลียวว่าควรแก่สัจจะ หรือควรแก่ธรรมะ (หรือไม่) ชื่อว่า อนุปปิยภาณิตา (ความเป็น ผู้พูดประจบ) ความประพฤติตนต่ำ คือความประพฤติวางตนไว้ต่ำ ๆ ชื่อว่า จากมุยตา (ลดตัว) ความเป็นผู้เป็นเช่นกับแกงถั่ว ชื่อว่า มุคุคสูปตา เหมือนอย่างถั่ว เมื่อต้มมันไป มันย่อม (มีที่) ไม่สุก บ้างเล็กน้อย นอกนั้นสุก ฉันใด ในคำพูดของบุคคลใด คำจริงมีเพียง เล็กน้อย นอกนั้นเป็นคำพล่อย ๆ (ทั้งสิ้น) ก็ฉันนั้น บุคคลนี้ท่าน เรียกว่า บุคคธูป (คนเหมือนแกงถั่ว) ภาวะแห่งคน มุคครูป * จึงดูเรื่องนี้ในมหาฎีกา ๑/๘๑
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More