ข้อความต้นฉบับในหน้า
- หน้าที่ 46
แล้ว
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ -
เวลาที่รูปารมณ์มาสู่คลองจักษุ เมื่อภวังคจิตเกิดดับไปสองขณะ
มโนธาตุอันเป็นกิริยาให้สำเร็จอาวัชชนกิจ (กิจคือการนึกหน่วงอารมณ์)
เกิดขึ้นแล้วดับไป แต่นั้นจักขุวิญญาณให้สำเร็จทัสสนกิจ (คือกิจการ
เห็น) เกิดขึ้นแล้วดับไป ต่อนั้นมโนธาตุอันเป็นวิบากให้สำเร็จ
สัมปฏิจฉันนกิจ (กิจคือการรับเอา) เกิดขึ้นแล้วดับไป ทีนั้นมโน
วิญญาณธาตุซึ่งเป็นอเหตุกวิบากให้สำเร็จสันตีรณกิจ (กิจคือการตรึก
ตรอง) เกิดขึ้นแล้วดับไป ครั้นแล้วมโนวิญญาณธาตุซึ่งเป็นอเหตุก
กิริยาให้สำเร็จโวฏฐัพพนกิจ (กิจคือการกำหนดเอา) เกิดขึ้นแล้วดับไป
ในลำดับนั้นชวนจิตจึงแล่นไป ความสำรวมหรือความไม่สำรวมก็ตาม
ในสมัยทั้งหลายแม้นั้น คือในภวังคสมัยก็ไม่มี ในบรรดาสมัยแห่ง
แต่ทว่า ในขณะ
วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้นสมัยใดสมัยหนึ่งก็ไม่มีเลย
แห่งชวนจิต ถ้าความทุศีลก็ดี ความหลงลืมสติก็ดี ความไม่รู้ก็ดี
ความไม่อดทนก็ดี ความเกียจคร้านก็ดี เกิดขึ้นไซร้ ความไม่สำรวม
ก็มีขึ้น ก็ความไม่สำรวมที่มีขึ้นอย่างนี้นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ความไม่สำรวมในจักขุนทรีย์ เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุว่าเมื่อความ
ไม่สำรวมนั้นมีอยู่ แม้ทวารก็เป็นอันไม่ได้คุ้มครอง แม้ภวังคจิต
แม้วิถีจิตมีอาวัชชนะเป็นต้น ก็เป็นอันไม่ได้คุ้มครอง (ไปตามกัน)
เปรียบเหมือนอะไร ? เปรียบเหมือนเมื่อประตูพระนครทั้ง 4 ด้าน อัน
บุคคลไม่ระวังแล้ว แม้ถึงภายในเรือน ซุ้มประตูและห้องเป็นต้น อัน
บุคคลระวังดีแล้ว ถึงอย่างนั้นสิ่งของภายในพระนคร ก็ชื่อ
ว่าเป็นอันไม่ได้รักษา ไม่ได้คุ้มครองอยู่นั่นเอง เพราะพวกโจรจึงเข้า