ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ -
- หน้าที่ 17
เห็น (ด้วยจักษุ) ไปได้ ฉันใด สีลนะที่กล่าวไว้โดยเป็นการรวม
เอาไว้อย่างดีซึ่งกายกรรมเป็นต้น และโดยเป็นที่ตั้งอาศัยแห่งกุศลธรรม
ทั้งหลายนั่นแหละชื่อว่าเป็นลักษณะแห่งศีล แม้ (มีประเภท) ต่าง
กันโดยอเนก โดยต่างแห่งธรรมมีเจตนาเป็นต้น เพราะศีลแม้ (มี
ประเภท) ต่างกันโดยอเนก โดยต่างแห่งเจตนาเป็นต้น ก็ไม่ล่วง
พ้นความเป็นที่รวมเอาไว้อย่างดี และความเป็นที่ตั้งอาศัยไปได้ ฉันนั้น
โรส ]
ส่วนว่า กิริยาที่กำจัดความทุศีล อีกอย่างหนึ่ง
คุณคือความหาโทษมิได้ ท่านกล่าวชื่อว่าเป็นรส
เพราะอรรถว่าเป็นกิจและเป็นสมบัติ ของศีลนั้น
ซึ่งเป็นลักษณะดังกล่าวมานี้
เพราะฉะนั้น ชื่อว่าศีลนี้ พึงทราบว่ามีการกำจัดซึ่งความทุศีล
เป็นรส โดยรสอันมีกิจเป็นอรรถ (อย่าง ๑) มีความไม่มีโทษเป็น
รส
โดยรสอันมีสมบัติเป็นอรรถ (อีกอย่าง ๑)
แท้จริงกิจนั่นเอง
หรือ (มิฉะนั้นก็) สมบัติ ท่านเรียกว่ารส ในบท (ปัญหาทั้ง ๔)
มีลักษณะเป็นต้น
คงหมายความ
* หมายความว่า รสในที่นี้ไม่ใช่รสายตนะอันเป็นคู่กับชิวหายตนะ คำว่า กิจ
เป็นไทย ๆ ว่า "หน้าที่" ดูก็ได้ความดีว่า ศีลมีหน้าที่กำจัดความทุศีล ส่วนคำว่า สมบัติ
ในที่นี้ น่าจะหมายความว่า "ดีพร้อม" คือไม่บกพร่องต้องตำหนิ อธิบายว่า คนรักษาศีล
แล้ว ย่อมปราศจากโทษทางกายวาจา แม้บัณฑิตพิจาณาแล้วก็หาที่ตำหนิมิได้ อีกนัยหนึ่ง อธิบาย
ว่า ศีลนั้นบุคคลอาจรักษาไม่ให้โทษมีทางกาย วาจา คือไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
(อขณฺฑ อจฺฉิทท อสพล อกมมาส) แต่โทษทางใจยังมี คืออาจรักษาศีลด้วยอำนาจตัณหา
มานะทิฏฐิ ทำให้เกิดความฟุ้งซ่าน ผู้รู้ไม่สรรเสริญ (ไม่เป็นภุชิสส วิญญูปสฎฐ อปรามฏฐ
สมาธิสวตฺตนิก) ต่อเมื่อรักษาประกอบพร้อมด้วยองค์ ๘ นี้แล้ว จึงเป็นอริยกันตศีล ซึ่งจะเรียก
อนวัชชศีลก็ได้ เพราะดีพร้อมหาที่ติมิได้