อานิสงส์แห่งเนสัชชิกังคะ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 177
หน้าที่ 177 / 184

สรุปเนื้อหา

บทความนี้วิเคราะห์อานิสงส์ของการตั้งสติในการปฏิบัติธรรม โดยเน้นที่ประโยชน์ของการละความสุขจากการนอนและการหลับ ซึ่งช่วยให้ภิกษุสามารถดำเนินต่อไปสู่ความเจริญในกรรมฐานและสัมมาปฏิบัติ โดยทบทวนคาถาและหลักการที่กล่าวถึงในเนสัชชิกังคะ เพื่อยกระดับการปฏิบัติธรรมอย่างมีประสิทธิภาพ.

หัวข้อประเด็น

-อานิสงส์ของเนสัชชิกังคะ
-การปฏิบัติธรรม
-ความสุขในกรรมฐาน
-การตั้งสติ
-การบำเพ็ญความเพียร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - [ อานิสงส์แห่งเนสัชชิกังคะ ] - หน้าที่ 173 ส่วนอานิสงส์ดังต่อไปนี้ คือ (๑) ตัดเครื่องผูกพันใจที่กล่าว ในบาลีว่า ภิกษุประกอบเนืองๆ ซึ่งความสุขในการนอน สุขในการ เอกเขนก สุขในความหลับ” ดังนี้เสียได้ (๒) มีความสะดวกในการ ประกอบกรรมฐานทั้งปวง (๓) มีอิริยาบถน่าเลื่อมใส (๔) เป็นผู้ เหมาะสมที่จะทำความเพียร (๕) สัมมาปฏิบัติเพิ่มพูนด้วยดี [ คาถาสรูป ] เพราะเหตุที่นักพรตนั่งคู่บัลลังก์ ตั้งกายตรงนั่งอยู่ ย่อมยังหัวใจของมารให้หวั่นไหว ภิกษุผู้ละความ สุขในการนอน สุขในความหลับ ปรารภความ เพียร ยินดีการนั่ง ยังโปตวันให้งามอยู่ ย่อม ได้ปีติสุขอันปราศจากอามิส เพราะเหฺนั้น ภิกษุ ผู้มีปัญญา จึงควรบำเพ็ญให้ดี ซึ่งเนสัชชิกพรต เทอญ. นี้เป็นคำพรรณนาการสมาทาน วิธี (ปฏิบัติ) ประเภท ความแตก และอานิสงส์ในเนสัชชิกังคะ, ต่อไปนี้เป็นคำพรรณนาตามบทบังคับแห่งคาถานี้ คือ กุสลตติโก เจว ๆ เป ฯ วิญญาตพโพ วินิจฉโย วินิจฉัย.... พึงทราบ... โดยกุศลติกะ โดยจําแนกศัพท์ 0 * ม. ม. ๑๒/๒๐๗,
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More