วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 14
หน้าที่ 14 / 184

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในบทนี้เน้นการประกาศคุณธรรมที่เกี่ยวข้องกับความเป็นพระอรหันต์ โดยแบ่งออกเป็นคุณ ๔ อย่าง รวมทั้งการนำทางให้บริบูรณ์ในศีล สมาธิ และปัญญา ให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงแนวทางการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา โดยยกตัวอย่างว่าสิกขาและความงามของศาสนาเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามและเป็นการนำทางสู่การพัฒนาในด้านจิตวิญญาณ ศึกษาคุณที่สำคัญที่ต้องทำความเข้าใจ ได้แก่ การเว้นที่สุดโต่ง การเสพแนวทางสายกลาง การละกิเลส และการชำระสังกิเลส ซึ่งเนื้อหานี้เป็นการอธิบายที่อิงตามพระสูตรที่ ๘๗ และ ๘๘ ให้นำไปสู่การเข้าถึงความเป็นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-ความเป็นพระอรหันต์
-การทำให้บริบูรณ์ในศีล คุณภาพสมาธิและปัญญา
-คุณธรรมและการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา
-แนวทางการเว้นสุดโต่งและการปฏิบัติสายกลาง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 12 ด้วยสมาธิ เหตุแห่งความเป็นพระอรหันต์ ทรงประกาศด้วยปัญญา เพราะว่าโสดาบัน พระผู้มีพระภาคตรัสว่า "เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ ในศีลทั้งหลาย" พระสกทาคามีก็อย่างนั้น ส่วนพระอนาคามี ตรัสว่า "เป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในสมาธิ" แต่พระอรหันต์ ตรัสว่า "เป็นผู้ ทำให้บริบูรณ์ในปัญญา"" ดังนี้แล ด้วยพระธรรมเทศนาเพียงเท่านี้ ย่อมเป็นอันทรง ประกาศคุณ ๔ อย่างนี้คือ (๑) สิกขา ๓ (๒) ศาสนามีความงาม ๓ อย่าง (๓) อุปนิสัยแห่งคุณวิเศษมีความเป็นผู้ได้วิช ได้วิชชา ๓ เป็นต้น (๔) การเว้นที่สุดโต่ง ๒ อย่าง และการเสพข้อปฏิบัติสายกลาง (๕) อุบายเครื่องล่วงพ้นจากคติมีอบายเป็นต้น (๖) การละกิเลส ด้วยอาการ ๓ (๒) ธรรมอันเป็นปฏิปักษ์ต่อโทษมีวีติกกมะเป็นต้น (๘) การชำระสังกิเลส ๓ และ (๕) เหตุแห่งความเป็นอริยบุคคล มีพระโสดาบันเป็นต้น อนึ่ง คุณที่เป็นหมวด ๓ อื่น ๆ รูปเดียวกันนี้ ก็เป็นอันทรงประกาศด้วย ด. 0 ๆ ความตอนนี้กล่าวตามนัยพระสูตรที่ ๘๗.๘๘ ติกังคุตตร หน้า ๒๕๗ ๓๐๑. က ๒. มหาฎีกาว่า คุณที่เป็นหมวดที่ ๓ อื่น ๆ เช่น วิเวก ๓ กุศลมูล ๓ เป็นต้น อธิบายความ เป็นนิทัสสนะต่อไปว่า กายวิเวกเป็นอันประกาศด้วยศีล เพราะศีลในที่นี้หมายเอาศีลที่อิงวิวัฏฏะ จิตตวิเวกประกาศด้วยสมาธิ อุปธิวิเวกประกาศด้วยปัญญา นัยเดียวกัน อโทสกุศลมูลประกาศ ด้วยศีล เพราะศีลมีความอดกลั้นเป็นประธาน และเพราะศีลมีสภาวะไม่ทำร้ายผู้อื่น อโลภะ ประกาศด้วยสมาธิ เพราะสมาธิเป็นข้าศึกต่อโลภะ และมีอโลภะเป็นประธาน ส่วนอโมหะ ประกาศด้วยปัญญาแท้ ฯลฯ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More