วิสุทธิมรรค - หน้าที่ 148 วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 152
หน้าที่ 152 / 184

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงการปฏิบัติและอานิสงส์ของเอกาสนิกภิกษุในการบริโภคโภชนะ โดยแบ่งประเภทภิกษุตามลักษณะการถือบาตร เช่น โภชนปริยนฺติโก, อุทกปริยนฺติโก และอาสนปริยนฺติโก พร้อมอธิบายถึงความแตกต่างและประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากศีลและการปฏิบัติตามธุดงค์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสุขภาพและความสุขของผู้ปฏิบัติ หากต้องการศึกษาเพิ่มเติมสามารถเข้าชมได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-เอกาสนิกังคะ
-การบริโภคโภชนะ
-พฤติกรรมของภิกษุ
-อานิสงส์ของการถือบาตร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑ - หน้าที่ 148 ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - แล้วนำเภสัชมีเนยใสเป็นต้นมา (ถวาย) เนยใสเป็นต้นนั้นย่อมควร เพื่อ (บริโภคเป็น) เภสัชเท่านั้น ไม่ควรเพื่อ (บริโภคเป็น) อาหาร ผู้ถืออย่างกลาง ย่อมได้เพื่อจะรับโภชนะอื่น ตราบเท่าที่ภัตรในบาตร ยังไม่หมดไป ด้วยว่าภิกษุนี้ชื่อว่า โภชนปริยนฺติโก (ผู้มีโภชนะ เป็นที่สุด) ภิกษุผู้ถืออย่างเพลา ย่อมได้เพื่อจะฉันตราบเท่าที่ยัง ไม่ลุกจากอาสนะ ด้วยว่าภิกษุนั้นชื่อว่า อุทกปริยนฺติโก (ผู้มีน้ำ เป็นที่สุด) เพราะฉันได้ตราบเท่าที่ยังไม่รับน้ำล้างบาตรบ้าง ชื่อว่า อาสนปริยนฺติโก (ผู้มีอาสนะเป็นที่สุด) เพราะฉันได้ตลอดเวลาที่ยัง ไม่ลุกขึ้นบ้าง. [ ความแตกแห่งเอกาสนิกังคะ ] ม ก็ธุดงค์ของเอกาสนิกภิกษุทั้ง ๓ พวกนี้ ย่อมแตกในขณะที่เธอ ฉันโภชนะ ณ อาสนะต่าง นี้เป็นความแตกในเอกาสนิกังคะนี้ [ อานิสงส์แห่งเอกาสนิกังคะ ] ส่วนอานิสงส์ดังต่อไปนี้ คือ (๑) มีอาพาธน้อย (๒) มีโรคน้อย (๔) แข็งแรง (๕) อยู่สำราญ (๓) (ร่างกาย) คล่องแคล่ว (๖) ไม่ต้องอาบัติเพราะอนติริตตสิกขาบทเป็นปัจจัย (๒) บรรเทา ตัณหาในรสได้ (๘) มีความประพฤติสมควรแก่ธุตธรรม มีความ มักน้อยเป็นต้น.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More