การวิเคราะห์คำสอนในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 90
หน้าที่ 90 / 184

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้มีการวิเคราะห์เกี่ยวกับคำสอนในวิสุทธิมรรค โดยพูดถึงการเป็นผู้บริโภคที่ต้องควบคุมอาชีวะ แม้จะมีความต้องการจนถึงขั้นหิว การตีความคำว่า ‘ไส้’ ก็มีความหมายที่หลากหลาย และมีการชี้ให้เห็นถึงสำนวนหิวในบริบทต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นสำนวนไทยที่คนไทยเข้าใจง่าย ความเป็นจริงคือการควบคุมความอยากและการรักษาอาชีวะถือเป็นเรื่องสำคัญที่สะท้อนให้เห็นถึงหลักธรรมใน teachings ของพระพุทธเจ้า

หัวข้อประเด็น

-การควบคุมอาชีวะ
-ความหมายของคำสอน
-การตีความภาษาทางจิตใจ
-ความยากลำบากในการรักษาศีล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 87 * "ถ้าเราพึงเป็นผู้บริโภคข้าวมธุปายาส ที่ เกิดขึ้นเพราะเผยวาจาเป็นวจีวิญญัติไซร้ อาชีวะของเราก็จะพึงถูกติเตียน แม้ ว่า ขนดไส้ของเรา จะพึงออกไปเที่ยวอยู่ข้าง นอก เราก็ไม่พึงทำลายอาชีวะเป็นเด็ดขาด แม้ต้องสละชีวิต (ก็ตาม) เราคุมจิตของ ตนได้ เราเว้นการแสวงหาไม่ควร ไม่ทำ อเนสนาที่พระพุทธเจ้าทรงเกลียดเลย" ดังนี้ - ในคาถานี้มีเรื่องที่น่าจะพูดกันอยู่หลายข้อดังนี้ ก. ในบท สาชีโว มหาฎีกาท่านตัดเป็น ส - อาชีโว และแก้ว่า ส ได้แก่ อสส (พึงเป็น) ลบ อ เสีย เช่นในคำว่า เอวิส เต เป็นต้น ข. คำว่า ไส้ ในประโยคเราใช้ อนุต ในคาถาใช้ อนุตคุณ ถ้าจะแปลไปตามที่ซึมซาบ ว่า "ไส้ใหญ่" ที แล้วก็ "ไส้น้อย" ที ก็ดูเป็นพูดไม่คิดเสียเลย คนเดียวพูดความอย่างเดียว จะพูดอย่างนั้นกระไรได้ มหาฎีกาท่านคงเห็นอย่างนี้ จึงแก้ อนุตคุณ เป็น อนุตโภโค (ขนดไส้) ซึ่งก็บ่งความว่าทั้ง ๒ ศัพท์มีความหมายว่า "ไส้" ก็แล้วกัน อย่าไปแยกเป็นไส้ใหญ่ไส้น้อยแลย ค. คำว่า "ไส้ อก" นั่นเป็นสำนวนอย่างหนึ่ง มหาฎีกาแก้รัว ๆ อย่างไรอยู่ดูจะเป็น ว่า คนที่กินของไม่ควรเข้าไปนั่นแหละ เขาเรียกว่าคนไส้ออก (มาเที่ยวหากินของอันไม่ควร) ข้างนอก (?) ทางความเข้าใจว่าน่าจะหมายถึง "หิวเหลือเกิน" ครั้งใดครั้งหนึ่งคนจะเข้าใจว่า ความอิ่ม ความหิว เป็นเรื่องขอองไส้ ถ้าหิวจัด ๆ คนไม่กินอะไรเข้าไป ไส้มันจะออกมาหากิน ของมันเอง เพราะมันทนความหิวไม่ไหว เพราะฉะนั้น ถ้าพูดเป็นสำนวนสั้น ๆ ก็ว่า "หิวจนไส้ ออก" ชอบกล ที่มาคล้ายคลึงกับสำนวนไทยที่ว่า "หิวไส้แทบขาด" อดจนไส้กิ่ว - ไส้แห้ง" ต่างกันตรงที่ว่าไส้ไทยยอมหิวอยู่แต่ในท้อง แม้กระทั่งแห้งกิ่วแทบขาดก็ตาม ส่วนไส้ชาวฃมพูทวีป ไม่ยอมอดอยู่ในท้อง ถ้าหิวเต็มที่ เป็นออกมาหากินข้างนอก ! ฆ. อาราเธมิ มหาฎีกาท่านแก้เป็น วเส วตฺเตมิ จึงถือเอานัยแปลว่า คุม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More