วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - สรรพกิเลส และปหานะ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 108
หน้าที่ 108 / 184

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้วิเคราะห์และอธิบายเกี่ยวกับศีลและปหานะ วิสุทธิมรรคแสดงให้เห็นว่าศีลและการละกิเลสมีบทบาทสำคัญในการนำจิตไปสู่ความสงบและการเข้าถึงนิพพาน การละกิเลสตามที่ได้เรียนรู้จากทำปหานะจะช่วยให้เกิดความไม่เดือดร้อนในจิตใจและนำมาซึ่งการปฏิบัติที่ถูกต้อง นอกจากนี้ยังเสนอธรรมต่าง ๆ ที่สนับสนุนสมาธิและความเข้าใจ เรื่องที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาเหล่านี้สามารถหาความรู้อื่น ๆ ได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-ศีลและความสำคัญ
-ปหานะในทางธรรม
-อรหัตมรรคและการละกิเลส
-ความหมายของนิพพาน
-ธรรมที่สนับสนุนสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - - หน้าที่ 104 สรรพกิเลส ด้วยอรหัตมรรค” (แต่ละอย่าง ๆ) เป็นศีล, ความ งดเว้น เจตนา ความสำรวม ความไม่ละเมิด (โทษและคุณ เหล่านั้นแต่ละอย่าง) เป็นศีล, ศีลเห็นปานนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่ เดือดร้อนแห่งจิต เป็นไปเพื่อปราโมทย์ เป็นไปเพื่อปีติ เป็นไปเพื่อ ปัสสัทธิ เป็นไปเพื่อโสมนัส เป็นไปเพื่อเสพให้ยิ่งขึ้น (ซึ่งสมาธิ) เป็น ไปเพื่อธรรมอันเป็นเครื่องประดับ (แห่งสมาธิ) เป็นไปเพื่อธรรม อันอุดหนุน (สมาธิ) เป็นไปเพื่อธรรมอันเป็นบริวาร (แห่งสมาธิ) เป็นไปเพื่อความเต็มรอบ (แห่งสมาธิ) เป็นไปเพื่อความหน่ายโดย ส่วนเดียว เพื่อสำรอกราคะ เพื่อความดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อ ความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เพื่อนิพพาน” ดังนี้ ก็แลธรรมใน ๕ ประการมีปหานะเป็นต้นนี้ ชื่อว่าธรรมอะไร ๆ ที่จะเรียกว่าปหานะย่อมไม่มี เว้นแต่ธรรมคือความไม่เกิดขึ้นแห่งโทษ มีปาณาติบาตเป็นต้น มีประการดังกล่าวแล้วอย่างเดียว” แต่เพราะว่า การละนั้น ๆ นับได้ว่าเป็นการเข้าไปรับไว้ เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้ง ด. มหาฎีกาอธิบายว่า ที่ว่ากิเลสอย่างหยาบ อย่างละเอียด ในที่นี้ เพราะเทียบกันในระหว่างกิเลส ที่มรรคด้วยกันจะพึงละ ไม่ได้หมายความทั่วไป ส่วนสรรพกิเลสที่อรหัตมรรคจึงละนั้น ก็หมายถึง กิเลสที่ยังเหลืออยู่เท่านั้น เพราะไม่จำต้องละกิเลสที่มรรคต้น ๆ ละไปแล้วซ้ำอีก ๒. ขุ. ป. ๒๑/๖๗. ๓. มหาฎีกาแก้ไว้ว่า "ปชหน อนุปปาทนิโรโธ ปหาน ความละไป คือ ความดับไปไม่เกิดขึ้นอีก ชื่อว่า ปหานะ" อธิบายว่า ธรรมคือความไม่เกิดขึ้นอีกแห่งโทษนั้น ๆ อย่างเดียวเท่านั้น เป็น ความหมายแห่งปหานะ แต่ที่ในปฏิสัมภิทาท่านนับปหานะเป็นศีลด้วยนั้น เพราะอรรถาธิบาย ดัง ต่อไปนั้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More