ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 50
แก่ชนเหล่าอื่นอันใด แห่งภิกษุผู้เห็นแก่ลาภสักการะและความสรรเสริญ
มีความปรารถนาลามก อันความอยากครอบงำแล้ว นี้เรียกว่า "ความ
เป็นผู้ทำใบ้."
บรรดากิริยาเหล่านั้น บีบบังคับ (นิปเปสิกตา) เป็นไฉน ?
การด่าเขา การพูดข่มเขา การพูดติเขา พูดขับเขา พูดไล่เขา พูด
เย้ยเขา พูดหยันเขา พูดเหยียดเขา พูดหยามเขา พูดโพทะนา
เขา พูดขู่เข็ญเขา แห่งภิกษุผู้เห็นแก่ลาภสักการะและความสรรเสริญ
มีความปรารถนาลามก อันความอยากครอบงำ นี้เรียกว่า "บีบ
บังคับ."
บรรดากิริยาเหล่านั้น การหาลาภด้วยลาภเป็นไฉน ? ภิกษุ
เห็นแก่ลาภสักการะและความสรรเสริญ มีความปรารถนาลามก อัน
ความอยากครอบงำ ย่อมนำอามิสที่ตนได้แต่เรือนนี้ไปที่เรือนโน้น
หรือนำอามิสที่ตนได้ในที่โน้นมาในที่นี้ การใฝ่หา เสาะหา แสวงหา
อามิสด้วยอามิสเห็นปานนี้ นี้เรียกว่า "การหาลาภด้วยลาภ"
* อภิ, วิ. ๒๕/๔๗๕, บาปธรรม ๕ ประการ คือ กุหนา ลปนา เนมิตติกตา นิปเปสิกตา
ลาเภน ลาภ นิชิลีสนตา มีจุดประสงค์อย่างเดียวกัน คือให้ได้ซึ่งปัจจัย แต่โดยวิธีต่างกัน
คือกุหนา ลวงให้เขาหลงศรัทธาให้ปัจจัย ลปนา ใช้เล่ห์ลิ้นให้เขารักเขาสงสารให้ปัจจัย เนมิตติกตา
ใช้กิริยาวาจามุ้ยใบ้เคาะแคะเขาจนเขาให้ นิปเปสิตา ทำหรือพูดให้เขากลัว ต้องยอมให้ ลาเภน
ลาภ นิชิคึสนตา ได้อะไรเอามาฝากเขา ทำให้เขาเกรงใจต้องให้ตอบแทน
ปรปิฏฐิมิสิกตา เป็นอาการอย่างหนึ่งในหัวข้อ นิปเปสิกตา ข้าพเจ้าแปลเอาความว่าขู่เข็ญเขา
ในวิสุทธิมรรคนี้ท่านแก้อรรถบทนี้ไว้ว่า ความที่พูดดีต่อหน้าเขาแล้วลับหลังตั้งติเตียนเขา กิริยา
อย่างนี้เป็นเหมือนกับคนไม่สู้เขาซึ่งหน้า ลอบกัดเนื้อหลังข้างหลังเขา (ปรมมุขานํ ปิฏฐิขาทน์)
คือท่านแก้ ปร เป็น ประมุข ตามนี้ดูที่จะต้องแปลว่าลอบกัด แต่ในมหาฎีกาแก้ไว้ว่า ปเรส
ปิฎฐิมิส์ ขาทนสีโล ปรปิฎฐิมสิโก ตสฺส ภาโว ปรปิฏฐิมิสิกตา - ผู้มีปกติกัดเนื้อหลังของคนอื่น
นัยนี้ ปร คงเป็น ปร (คือคนอื่น) ตามนี้น่าจะได้กับคำพังเพยไทยว่า "หากินบนหลังคน" เห็นเข้าที
จึงแปลเอาความว่าขู่เข็ญเขา