ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 161
[ คาถาสรูป ]
ที่อยู่ของภิกษุผู้สงัด อันเป็นที่ ๆ พระพุทธ
เจ้าผู้ประเสริฐทรงสรรเสริญ และตรัสว่าเป็นนิสัย
(ของผู้บรรพชา) ซึ่งเสมอด้วยโคนไม้ จักมี
ที่ไหน เพราะว่า ภิกษุผู้มีพรตอันดี เมื่ออยู่ ณ
โคนไม้อันสงัด อันเป็นที่นำเสียซึ่งอาวาสมัจฉริยะ
เป็นที่อันเทวดาบริบาล เห็นใบไม้ทั้งหลาย
(ที่ยังอ่อน) สีแดง (แล้วก็เปลี่ยนเป็น) สีเขียว
และสีเหลืองแล้วก็หล่นไป ย่อมถ่ายถอนความ
สำคัญว่าเที่ยงเสียได้ เพราะเหตุนั้น ภิกษุผู้มี
ปัญญาเห็นแจ้ง จึงไม่ควรดูหมิ่นโคนไม้อันเป็น
ที่สงัด อันเป็นที่อยู่ของท่านผู้ยินดีในภาวนา อัน
นับว่าเป็นมรดกของพระพุทธเจ้านั้นเลย.
นี้เป็นคำพรรณนาการสมาทาน วิธี (ปฏิบัติ) ประเภท ความแตก
และอานิสงส์ในรุกขมูลิยังคะ
๑๐. อัพโภกาสกังคะ
[ การสมาทานอัพโภกาสิกังคะ ]
แม้อัพโภกาสกังคะ ก็เป็นอันสมาทานด้วยคำสองคำนี้ คำใด
คำหนึ่งว่า ฉนุนญฺจ รุกขมูลญจ์ ปฏิกขิปามิ ข้าพเจ้างดที่มุงบังด้วย
*
มหาฎีกาขยายความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ทรงแสดงธรรมจักร และเสด็จ
ดับขันธปรินิพพาน ที่โคนไม้ทั้งนั้น เพราะฉะนั้น จึงไว้ว่า โคมไม้เป็นมรดกของพระองค์