ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 160
ทำให้เรียบแล้ว เกลี่ยทราย ทำรั้วล้อม ติด (บาน) ประตู เสียด้วย
แล้วจึงอยู่ก็ได้ แต่ในวันที่มีงานมหกรรม รุกขมูลภิกษุอย่านั่งอยู่ที่นั่น
พึง (ไป) นั่งที่อื่นที่มีอะไรบัง
[ ความแตกแห่งรุกขมูลทั้งคะ ]
ก็แล ธุดงค์แห่งรุกขมูลิกภิกษุทั้ง ๓ จำพวกนี้ ย่อมแตกในขณะที่
เธอสำเร็จความอยู่ในที่มุงบัง (ส่วน) พระอังคุตตรภาณกาจารย์
ทั้งหลาย กล่าวว่า "ธุดงค์นี้แตก) ในขณะที่เธอรู้อยู่แล้ว” ยังอรุณ
ให้ตั้งขึ้นในที่มุงบัง" นี้เป็นความแตกในรุกขมูลกังคะนี้
[ อานิสงส์แห่งรุกขมูลกังคะ ]
ส่วนอานิสงส์ดังต่อไปนี้ คือ (๑) เกิดเป็นความปฏิบัติสมควรแก่
นิสัยขึ้นเอง ตามพระบาลี (บอกอนุศาสน์) ข้อว่า "รุกขมูลเสนาสน์
นิสสาย ปพฺพชชชา
การบรรพชาอาศัยโคนไม้เป็นที่นอนที่นั่ง"
ๆ
(๒) ปัจจัยตามที่พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญว่า เป็นของเล็กน้อย
ด้วย หาง่ายด้วย ไม่มีโทษด้วย (๓) ปลูกอนิจจสัญญาขึ้นได้ด้วย
ได้เห็นความเปลี่ยนแปลงแห่งใบไม้อยู่เนือง ๆ (4) เลิกความตระหนี่
ในเสนาสนะและความเพลินในงาน (ก่อสร้าง) (๕) ได้อยู่กับ (รุกข)
ทวดาทั้งหลาย (๖) มีความประพฤติสมควรแก่ธุตธรรม มีความ
มักน้อยเป็นอาทิ.
๑. ไม่แสดงตัว เพราะความมักน้อย, ๒. คือรู้อยู่แล้วว่าอรุณจะขึ้นในบัดนั้น