วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 79
หน้าที่ 79 / 184

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในวิสุทธิมรรคเสนอการรักษาอินทรียสังวรเพื่อควบคุมจิตใจจากกิเลส โดยชี้ให้เห็นว่าภิกษุควรมีสติในการรับรู้สิ่งต่าง ๆ ผ่านทางทวารทั้งห้าคือ รูป, เสียง, รส, กลิ่น, และผัสสะ เพื่อปกป้องจิตจากการถูกโจรที่เป็นกิเลสเข้าทำลาย การไม่รักษาทวารเหล่านี้ถือว่ามีโทษ และเปรียบเทียบกับข้าวกล้าที่ไม่มีการรั้ว ทำให้เปราะบางต่อการถูกทำลาย คล้ายกับบ้านที่เปิดประตูทิ้งไว้ จึงยิ่งจำเป็นต้องมีการฝึกปฏิบัติอย่างเหมาะสม.

หัวข้อประเด็น

-การรักษาอินทรียสังวร
-ความสำคัญของสติ
-การปกป้องจิตจากกิเลส
-การใช้ประสาทสัมผัสอย่างมีสติ
-เปรียบเทียบกับชีวิตประจำวัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - - หน้าที่ 76 เป็นแสงช่วง ยังประเสริฐกว่า ส่วนการถือเอาโดยอนุพยัญชนะ ถือเอาโดยนิมิต ในรูปทั้งหลายอันจะพึงรู้ด้วยจักษุ ไม่ประเสริฐเลย" ดังนี้ เป็นต้นแล้ว เมื่อวิญญาณเป็นไปแล้วทางทวารมีจักขุทวารเป็น อาทิ ในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น หักห้ามความถือมีถือเอาโดย นิมิตเป็นต้น อันเป็นทางที่โทษทั้งหลาย มีอภิชฌาเป็นต้น จะพึงไหล เข้ามาเสียได้ ด้วยสติอันไม่หลงลืม (นั้นแหละ) จะพึงทำให้ถึงพร้อม ได้อย่างดี. ก็แล เมื่ออินทรียสังวรนั้น ภิกษุไม่ทำให้ถึงพร้อมอย่างนี้แล้ว แม้ศีลปาฏิโมกข์ก็ย่อมไม่ยังไม่ยืนอยู่ได้ เปรียบเหมือนข้าวกล้าที่มิได้ ทำรั้วล้อม ก็ไม่ยืนอยู่ได้ ฉะนั้น อนึ่ง ภิกษุผู้ไม่ทำอินทรียสังวร ให้ ถึงพร้อมนี้ ย่อมจะถูกโจรคือกิเลสทั้งหลายทำร้ายเอาได้ ดุจบ้านที่เปิด ประตูไว้ ก็ถูกโจรทำลายเอาได้ฉะนั้น อีกประการหนึ่ง ราคะย่อมรั่ว เข้าจิตของเธอได้ เหมือนฝนรั่วรคเรือนที่มุงไว้ไม่ดีฉะนั้น สมด้วย พระพุทธภาษิตว่า G). "ภิกษุพึงรักษาอินทรีย์" ในเพราะรูป เสียง รส กลิ่น และผัสสะทั้งหลาย เพราะว่า ทวารทั้งหลาย ที่เปิดไว้ไม่รักษานั้น ย่อมทำ ร้ายเอา (ผู้ไม่รักษา) เหมือนโจรทำลาย 8. สฬายตน. ๑๘/๑๒๐, ๒. ในวิสุทธิมรรคที่เป็นต้นฉบับแปลนี้ว่า รถขนตินทรีย์ ฉบับยุโรป เป็น รกฺข อินทริย์ แต่ว่ามหาฎีกาท่านแก้ไว้ดังนี้ รูเปสติ รูปเหตุ รูปนิมิตต์ อุปปัชชนกอนตฺถโต รกฺเข อินทริยนฺติ สมพนฺโธ ในที่นี้แปลตามมหาฎีกา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More