อานิสงส์แห่งเตจีวริกะในพระพุทธศาสนา วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 141
หน้าที่ 141 / 184

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาวิเคราะห์การแตกในจีวรกังคะและอานิสงส์ที่เกิดจากการเป็นภิกษุเตจีวริกะ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคุณค่าความสันโดษและการมีความประพฤติโดยยึดมั่นในจีวรที่จำกัด โดยพระโยคีผู้มีปัญญาพยายามละตัณหาและเลิกการสะสมผ้าเพื่อการปฏิบัติธรรมที่ดียิ่งขึ้น โดยมีหลักการเฉพาะในการวิเคราะห์วิธีการชีวิตของภิกษุเตจีวริกะให้สะดวกในการธุดงค์และนำเสนอคุณสมบัติเด่นในชีวิตของพวกเขาผ่านการเลือกจีวรที่เยี่ยมยอดที่ไม่สร้างความยุ่งเหยิงในจิตใจ

หัวข้อประเด็น

-ความแตกแห่งจีวรกังคะ
-อานิสงส์แห่งเตจีวริกะ
-การดำเนินชีวิตของภิกษุเตจีวริกะ
-ความสำคัญของสันโดษในพระพุทธศาสนา
-การละทิ้งตัณหาและความสะสม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - [ ความแตกแห่งจีวรกังคะ] ก็ธุดงค์ของภิกษุเตจีวริกะทั้ง ๓ ประเภทนี้ အ - หน้าที่ 137 ย่อมแตกในขณะ ที่เธอยินดีจีวรผืนที่ ๔ นั่นแล นี้เป็นความแตกในจีวรกังคะนี้ [ อานิสงส์แห่งเตจีวริกังคะ ] ส่วนอานิสงส์มีดังนี้ คือ คุณทั้งหลายเช่นที่จะกล่าวต่อไปนี้ ย่อม สำเร็จ (แก่ภิกษุเตจีวริกะ) คือ (๑) ภิกษุเตจีวริกะย่อมเป็นผู้ สันโดษด้วยจีวรแต่พอรักษากาย ด้วยความสันโดษนั้น (ไปข้างไหน) เธอถือเอา (จีวรนั้น) ไปได้ ดุจนก (พาเอาแต่ปีกบินไป) ฉะนั้น (๒) มีกิจที่จะพึงปรารมภ์น้อย (๓) เลิกการสะสมผ้า (๔) มีความ ประพฤติเป็นคนเบาดี (๕) ละความละโมบในอดิเรกจีวรได้ (5) ทำ ความพอใจในผ้าที่เป็นกัปปิยะ" (๒) มีความประพฤติขูดเกลากิเลส (๔) ธุตธรรมมีความมักน้อยเป็นต้นอำนวยผล (แก่เธอ) ดังนี้ [ คาถาสรูป ] * พระโยคีผู้มีปัญญา รู้รสความสุขอันเกิดแต่ สันโดษ จึงละตัณหาในผ้าที่เหลือเฟือได้ เลิกการ สะสม (ผ้า) เป็นผู้ทรงไว้แต่ไตรจีวร เพราะ เหตุนั้น พระโยคีผู้ประเสริฐ ปรารถนาจะเที่ยว ไปให้สะดวก พึงกระทำความยินดีในธุดงค์ที่ท่าน มหาฎีกาท่านขยายความว่า แม้ทรงอนุญาตผ้าไว้ตั้งหลายอย่าง เช่นผ้านิสีทนะ ฯลฯ โดยที่สุดผ้าบริขาร โจล แต่ภิกษุเตจีวริกะนี้ไม่ใช้ผ้าอื่น ๆ เลย ใช้อยู่แต่ผ้า ๓ ผืนเท่านั้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More