ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 29
ธัมมาธิปไตยยศีล (ศีลมีธรรมเป็นใหญ่) จึงทราบศีลเป็น ๓ อย่าง
โดยเป็นอัตตาธิปเตยยศีลเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้
[ ติกะที่ ๓]
พึงทราบวินิจฉัยในติกะที่ ๓ ต่อไป ศีลใดที่เรียกว่านิสสิตศีล
ในศีลหมวด ๒ ศีลนั้นชื่อว่าปรามัฏฐศีล เพราะเป็นที่ถูกตัณหา
และทิฏฐิจับ ศีลอันเป็นสัมภาระแห่งมรรคของกัลยาณปุถุชน และที่
สัมปยุตด้วยมรรคของพระเสขะทั้งหลาย ชื่อว่าอปรามัฏฐศีล (ศีลที่
ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิจับ) ส่วนที่สัมปยุตด้วยผลทั้งของพระเสขะและ
ของพระอเสขะ ชื่อว่าปฏิปัสสัทธศีล (ศีลอันระงับแล้ว) พึงทราบ
ศีลเป็น ค
อย่าง โดยเป็นปรามัฏฐศีลเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้
[ ติกะที่ ๔]
พึงทราบวินิจฉัยในติกะที่ ๔ ต่อไป ศีลที่ภิกษุผู้ไม่ต้องอาบัติ
ทำให้บริบูรณ์ก็ดี ที่ต้องแล้วทำคืนเสียก็ดี ชื่อว่าวิสุทธศีล ศีลที่
ภิกษุต้องอาบัติแล้ว ไม่ทำคืน ชื่อว่าอวิสุทธศีล ศีลของภิกษุ
ผู้สงสัยในวัตถุก็ดี ในอาบัติก็ดี ในอัชฌาจารก็ดี ชื่อว่าเวมติกศีล
ในศีลเหล่านั้น อวิสุทธศีล พระโยคีครรทำให้บริสุทธิ์เสีย ในเวมติก
ศีล อย่างเพิ่งทำการล่วงละเมิดวัตถุ จึงถ่ายถอนความสงสัยเสียให้ได้
อย่างนี้ ความผาสุขจะมีแก่เธอแล พึงทราบศีลเป็น ๓ อย่าง โดย
*
ปุถุชฺชนกลยาณกสฺส มหาฎีกาแก้ว่า ปุถุชฺชเนส กลยาณกสฺส เห็นว่าลงกันได้กับคำกัลยาณ
ปุถุชน ที่เราใช้ ซึ่งฟังสนิทดีกว่า