ข้อความต้นฉบับในหน้า
อาจาระ
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 42
นี้เรียกว่าอุปนิพนธ์โคจร ภิกษุเป็นผู้เข้าถึง เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วย
กระนี้ด้วย ด้วยโคจรนี้ด้วย โดยนัยที่กล่าวมานี้ แม้เพราะเหตุนั้น
จึงเรียกว่า "อาจารโคจรสมฺปนฺโน" (ผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยอาจาระ
และโคจร)
ข้อว่า "มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษมาตรว่าเล็กน้อย" ความว่า
ข้อ
เป็นผู้มีกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายมีประมาณน้อย อันต่างโดย
โทษเป็นต้นว่าเสขิยวัตรที่ไม่จงใจล่วงและจิตตุบาทที่เป็นอกุศล
ว่า 'ย่อมสมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย" ความว่า ศีลอย่างใด
อย่างหนึ่งที่ต้องศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ก็ถือศีลทั้งปวงนั้นด้วยดี
ศึกษาอยู่ ก็ในอธิการแห่งปาฏิโมกข์สังวรศีลนี้ พึงทราบว่า
ปาฏิโมกข์สังวรศีล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงโดยปุคคลาธิษฐาน-
เทศนาด้วยบทว่า ปาฏิโมกขสวรสวโต เพียงบทเดียวนี้ ส่วนคำว่า
อาจารโคจรสมฺปนฺโน เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อทร
ข้อปฏิบัติอันเป็นทางถึงพร้อมแห่งศีลนั้นทั้งหมดนั้นแก่ผู้ปฏิบัติ
[ อินทรียสังวร ]
เพื่อทรงแสดง
ส่วนอินทรียสังวรศีลนั้นใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้โดย
วิสโย ความว่า ธรรมอันเป็นสมบัติของบิดา คือพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของตน เป็นวิสัยที่พระบิดา
นั้นทรงเห็นและทรงแสดงแล้ว"
พระบาลีนี้สำนวนฟังยาก คิดไม่เห็นว่าเหตุไรท่านจึงใช้สำนวนแบบนี้.
* ศัพท์นี้มหาฎีกาแก้ว่า กมฺมุฏฐานสังขาโต จิตฺตสฺส อุปนิพนธนฏฐานภูโต โคจโร
อุปนิพนธโคจโร "โคจรอันเป็นที่เข้าไปผูกจิตไว้ กล่าวคือกัมมัฏฐาน ชื่อว่าอุปนิพันธโคจร"
โคจร ๓ ตามนัยนี้ เป็นคน ๑ คืออุปนิสสยโคจร ได้แก่กัยาณมิตร เป็นธรรม ๒ คือ
อารักขโคจร ได้แก่สติ อุปนิพันธโคจร ได้แก่กัมมัฏฐาน (สติปัฏฐาน),