ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - - หน้าที่
155
กล่าวว่า อนึ่ง ลักษณะแห่งเลฑฑบาตนั้น ก็คือร่วมในแห่งที่ที่ตกลง
แห่งก้อนดินที่ขว้างไป (เต็มแรง) อย่างพวกคนรุ่นหนุ่ม เมื่อจะ
แสดงกำลังของตน เหยียดแขนขว้างก้อนดินไป (โดยแรง) ฉะนั้น
ส่วนอาจารย์ฝ่ายพระสูตรกล่าวว่า ภายในที่ที่ตกแห่งก้อนดิน ที่ขว้างไป
(พอดีพอร้าย) ทำนองไล่กา ชื่อว่า
เลขทบาต.
พึงทราบวินิจฉัยในบ้านที่ไม่ได้ล้อมว่า มาตุคามยืนอยู่ที่ประตูเรือน
หลังสุดเขาทั้งหมด สาดน้ำไปถึงที่ใด ที่น้ำนั้นตก ชื่อว่า อุปจารเรือน
เลฑฑบาตหนึ่งโดยนัยที่กล่าวแล้ว จากอุปจารเรือนนั้น ชื่อว่า บ้าน
เลฑฑบาตที่ ๒ เป็นอุปจารแห่งบ้าน, ส่วนป่า ว่าทางพระวินัยก่อน
ท่านกล่าวไว้ว่า ที่ทั้งปวงยกบ้านและอุปจารแห่งบ้านเสีย นั่นชื่อว่าป่า
ทางพระอภิธรรม กล่าวว่า ที่ทั้งปวงภายนอกอินทขีลออกไป นั่นชื่อ
ว่า ป่า" แต่ลักษณะที่กล่าวทางพระสูตรว่า ที่มีระยะไกล ๕๐๐ ชั่วธนู
เป็นอย่างน้อย ชื่อว่า เสนาสนะป่า, นี้เป็นลักษณะในคำว่า ป่า นี้
เสนาสนะป่านั้นสำหรับบ้านที่มีรั้วล้อม จึงกำหนดวัดแต่อินทขีล ด้วย
(คัน) ธนูของอาจารย์ที่โก่งแล้ว สำหรับบ้านที่ไม่มีรั้วล้อม จึงกำหนด
วัดจำเดิมแต่เลฑฑบาตทีแรก จนถึงเครื่องล้อมแห่งวิหาร, ในอรรถกถา
พระวินัยทั้งหลายกล่าวว่า แต่ถ้าวิหารไม่ได้ล้อม เสนาสนะที่อยู่ต้นเพื่อน
หรือโรงครัว หรือที่ประชุมประจำ ต้นโพธิ์หรือเจดีย์อันใด แม้ว่าอยู่
ห่างจากเสนาสนะออกไป จึงทำที่นั้นให้เป็นแดนกำหนดวัดเถิด.
ส่วนในอรรถกถามัชฌิมกาย กล่าวว่า พึงวัดอุปจารแม้แห่ง
๑. วิ. มหา. ๑/๘๕. ๒. อภ. วิ. ๒๕/๓๓๘. ๓. วิ. มหา. ๒/๑๔๖.