วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - การสะท้อนเรื่องโคจรและอโคจร วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 39
หน้าที่ 39 / 184

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงคำว่า 'โคจร' และ 'อโคจร' อธิบายถึงการสังสรรค์ที่ไม่เหมาะสมของภิกษุและภิกษุณี โดยชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการเลือกคบคนและแวดวงความสัมพันธ์ เพื่อให้สามารถรักษาศรัทธาและหลีกเลี่ยงสิ่งที่ไม่เกื้อกูลให้กับจิตใจและชีวิตประจำวันของตน. นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงตระกูลที่มีศรัทธาเลื่อมใสว่าเป็นเช่นบ่อน้ำที่สามารถให้ประโยชน์แก่ผู้ที่เข้าไปใช้. เนื้อหานี้จะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายที่ลึกซึ้งของคำว่าโคจรและอโคจรในบริบทของการปฏิบัติธรรมในศาสนาพุทธ.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของโคจร
-ความหมายของอโคจร
-การรักษาศรัทธาในศาสนา
-แบบแผนการใช้ชีวิตของภิกษุภิกษุณี
-ความสำคัญของการเลือกคบคน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 37 มิจฉาชีวะอย่างอื่น ๆ ที่พระพุทธเจ้าทรงรังเกียจก็ดี นี่ก็เรียกว่าอาจาระ [ โคจร อโคจร ] คำว่า โคจร มีนิเทศว่า โคจร ก็มี อโคจร ก็มี ใน ๒ อย่าง นั้น อโคจรเป็นไฉน ? ภิกษุลางรูปในศาสนานี้ก็เป็นผู้หญิงมีแพศยา เป็นโคจร หรือมีหญิงหม้าย สาวเนื้อ บัณเฑาะก์ ภิกษุณี และ โรงสุราเป็นโคจร เป็นผู้คลุกคลีอยู่กับพระราชา กับมหาอำมาตย์ กับเดียรถีย์ โดยการสังสรรค์กับคฤหัสถ์อย่างไม่สมควร" ก็หรือว่าย่อม เสพ ย่อมคบ ย่อมเข้าไปนั่งใกล้ซึ่งตระกูลทั้งหลายที่ ลายที่ไม่มีศรัทธา ไม่ เลื่อมใส ที่ด่าว่าเอา ที่มุ่งสิ่งอันไม่มีประโยชน์ (ให้) มุ่งสิ่งที่ไม่ เกื้อกูล (ให้) มีความไม่ผาสุก (ให้) มุ่งความไม่เกษมจากโยคะ (ให้) แก่พวกภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา นี้เรียกว่าอโคจร ใน ๒ อย่างนั้น โคจรเป็นไฉน ? ภิกษุลางรูปในศาสนานี้ไม่ เป็นผู้มีหญิงแพศยาเป็นโคจร ฯลฯ ไม่เป็นผู้มีโรงสุราเป็นโคจร ไม่ คลุกคลีอยู่กับพระราชา ฯลฯ กับสาวกของเดียรถีย์ โดยการสังสรรค์ กับคฤหัสถ์ที่ไม่สมควร ก็หรือว่าย่อมเสพ ย่อมคบ ย่อมเข้าไปนั่งใกล้ ซึ่งตระกูลทั้งหลายที่มีศรัทธาเลื่อมใส เป็น (ดุจ) บ่อน้ำ รุ่งเรืองด้วย ๑. อนนุโลมเกน คิริสสคเคน มหาฎีกาเขียนไว้ไม่มีคำ คิริ ว่า อนนุโลมิเกน สํสคุเคน มีปัญหาอยู่ว่า เดียรถีย์นับเป็นคฤหัสถ์หรือไม่. ๒. โอปานภูตานิ มหาฎีกาแก้ว่า ตระกูลที่มีศรัทธาเลื่อมใสนั้น เป็นดุจบ่อน้ำควรเป็นที่ลงไป ดื่มหรือใช้ตามสบายแห่งหมู่ภิกษุภิกษุณี เหมือนสระโบกขรณีที่เขาขุดไว้เป็นสาธารณะที่ทางสี่แยก ฉะนั้น.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More