วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 145
หน้าที่ 145 / 184

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้ได้พูดถึงความแตกของปิณฑปาติกังคะ ซึ่งเกิดจากภิกษุทั้งสองรูปที่เสื่อมเสีย ผ่านการบิณฑบาตและการเสวยธรรมรส โดยจะนำเสนออานิสงส์ต่างๆ ที่เกิดจากปิณฑปาติกังคะ เช่น ความปฏิบัติที่สมควร, การตั้งอยู่ในอริยวงศ์, ความเป็นอิสระจากผู้อื่น และความบริสุทธิ์ในการดำเนินชีวิต โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความเข้าใจในหลักธรรมที่สำคัญสำหรับผู้ปฏิบัติ.

หัวข้อประเด็น

-ความแตกในปิณฑปาติกังคะ
-อานิสงส์แห่งปิณฑปาติกังคะ
-การปฏิบัติธรรมที่สมควร
-การบริโภคและสังฆภัตร
-คุณค่าของการฟังธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - ในวันพรุ่งนี้ ของทายกคนหนึ่งไว้ - หน้าที่ 141 ภิกษุทั้งสองรูปนั้นได้เสื่อมเสีย (ประโยชน์) ไป ด้วยประการอย่างนี้ ฝ่ายท่านผู้ถืออย่างอุกฤษฎ์ เที่ยวบิณฑบาตแต่เช้า (ฉัน) แล้วก็ไป ได้เสวยธรรมรส [ ความแตกแห่งปิณฑปาติกังคะ ] ก็ธุดงค์แม้ของปิณฑปาติกภิกษุทั้ง ๓ พวกนี้ ย่อมแตกในขณะ ที่ยินดีอติเรกลาภมีสังฆภัตรเป็นต้นนั่นแล นี้เป็นความแตกในปิณฑ ปาติกังคะนี้. [ อานิสงส์แห่งปิณฑปาติกังคะ ] มีดังต่อไปนี้ คือ (๑) เกิดมีความปฏิบัติที่สมควร ส่วนอานิสงส์มีดังต่อไ แก่นิสัย ตามพระบาลี (บอกอนุศาสน์) ข้อว่า บรรพชาอาศัยการ บริโภคคำข้าวที่แสวงหาด้วยกำลังแข้ง (๒) ได้ตั้งอยู่ในอริยวงศ์ข้อที่ ๒ (๓) ไม่เป็นผู้มีความเป็นไปเกี่ยวเกาะกับผู้อื่น (๔) มีปัจจัยตาม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญไว้ว่า เป็นของเล็กน้อยด้วย เป็นของ หาได้ง่ายด้วย เป็นของหาโทษมิได้ด้วย (๕) ย่ำยีความเกียจคร้าน เสียได้ (๖) มีอาชีวะบริสุทธิ์ (๒) ได้บำเพ็ญเสขิยปฏิบัติ (๔) ไม่ต้องเลี้ยงผู้อื่น (8) ได้ทำความอนุเคราะห์ผู้อื่น (๑๐) ละ มานะได้ (๑๑) ป้องกันตัณหาในรสได้ (๑๒) ไม่ต้องอาบัติ เพราะคุณโภชนสิกขาบท ปรัมปรโภชนสิกขาบท และจาริตตสิกขาบท (๑๓) มีความประพฤติสมควรแก่ธุตธรรมทั้งหลาย มีความมักน้อย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More