วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 146
หน้าที่ 146 / 184

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมของนักพรตที่สันโดษ มุ่งห่างจากความโลภ ในการแสวงหาอาหารด้วยตนเอง เน้นความสำคัญของวิถีชีวิตที่ไม่มีการเกาะเกี่ยวกับผู้อื่น ชี้ให้เห็นถึงการมีศีลที่ดี และการทำความดีให้กับผู้อื่นผ่านการบิณฑบาต. เอกสารนี้ยังพูดถึงการไม่ดูหมิ่นภิกขาจาร ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในด้านจิตใจของนักพรต.

หัวข้อประเด็น

-การปฏิบัติธรรม
-ชีวิตนักพรต
-วิสุทธิมรรค
-การบิณฑบาต
-ความสำคัญของจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - - หน้าที่ 142 เป็นต้น (๑๔) สัมมาปฏิบัติเพิ่มพูน (๑๕) ได้อนุเคราะห์ประชุมชน ผู้เกิดในภายหลัง. [ คาถาสรูป ] นักพรตผู้สันโดษในโภชนะ คือ คำข้าว อันตนแสวงหามาได้ด้วยกำลังแข้ง มีความเป็นอยู่ ไม่เกี่ยวเกาะกับคนอื่น ละความละโมบในอาหาร เป็นพระ ๔ ทิศ" บรรเทาความเกียจคร้านได้ อาชีวะ ของเธอย่อมหมดจด เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุผู้มี ปัญญาดีไม่ควรดูหมิ่นภิกขาจาร ด้วยว่าเทวดาทั้งหลาย ย่อมใฝ่ใจต่อภิกษุผู้มี การเที่ยวบิณฑบาตเป็นปกติ ผู้เลี้ยงตนเอง มิใช่ ผู้เลี้ยงคนอื่น มั่นคงอยู่เช่นนั้น ถ้าเธอเป็นผู้ไม่ มุ่งลาภและความสรรเสริญ ดังนีและ ๑. มหาฎีกาขยายความไว้บางข้อ ดังนี้ ย่ำยีความเกียจคร้านเสียได้ เพราะต้องอาศัยกำลังแข้งแสวงหาบิณฑบาตอยู่เป็นปกติ มีอาชีวะบริสุทธิ์ เพราะแสวงหาอาหารแบบแมลงภู่ ไม่ทำให้เกิดความชอกช้ำเสียหาย ได้บำเพ็ญเสขิยปฏิบัติ เพราะต้องเข้าสู่ละแวกบ้านอยู่เป็นนิจ ไม่ต้องเลี้ยงผู้อื่น เพราะรู้ประมาณในการรับ (คือรับมาแต่พอเลี้ยงตัวคนเดียว) และ เพราะไม่อยู่ระคนกับใคร จึงไม่มีใครที่จะต้องเลี้ยง ทำความอนุเคราะห์ผู้อื่น เพราะรับบิณฑบาตบ้านละนิดละหน่อย ละมานะได้ เพราะยอมเลี้ยงชีวิตด้วยวิธีอันต่ำต้อยที่สุด (คือเที่ยวบิณฑบาต). ป้องกันตัณหาในรสได้ เพราะฉันอาหาร (สํา) รวม. ๒. มหาฎีกาอธิบายว่า จะอยู่ไหนก็อยู่ได้ จะไปไหนก็ไปได้ทั้ง ๔ ทิศ ไม่มีขัดข้อง (ด้วย เรื่องอาหารการกิน).
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More