วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - ประโยค๘ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 51
หน้าที่ 51 / 184

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับสิกขาบท 5 ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ เมื่อต้องการให้ภิกษุประพฤติตามคำสอนเพื่อหลีกเลี่ยงอาบัติและการทำผิดศีล การอธิบายสัญลักษณ์ของการล่อลวงมีบทบาทสำคัญในการวิเคราะห์เนื้อหาอย่างลึกซึ้ง การตีความคำสอนนี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ประพฤติธรรมหรือศึกษาพุทธศาสนา นอกจากนี้ บทนี้ยังมีการพูดถึงการยกระดับจิตใจให้เวียนว่ายผ่านบทเรียนที่นำมาซึ่งความรู้และการพัฒนาตนเอง

หัวข้อประเด็น

-อธิบายสิกขาบท 5
-ผลของอาชีวะต่อการประพฤติ
-การวิเคราะห์การล่อลวง
-ความสำคัญของศีลในการพัฒนาจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 48 ลำดับแห่งอิทรียสังวรศีลต่อไป คำว่า "สิกขาบท 5 ที่พระผู้มีพระ ภาคเจ้าทรงบัญญัติไว้ เพราะอาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นตัวการณ์" ความว่า สิกขาบท 5 ที่พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้อย่างนี้คือ "เพราะ อาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นตัวการณ์ ภิกษุมีความปรารถนาลามก อันความอยากครอบงำแล้ว พูดอวดอุตตริมนุสสธรรมอันไม่มีไม่เป็น เมื่อเธอ (ในตน) ต้องอาบัติปาราชิก เพราะอาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะ เป็นตัวการณ์ ภิกษุถึงความเป็นผู้ชักสื่อ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส เพราะ อาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นตัวการณ์ ภิกษุพูดว่า "ภิกษุใด อยู่ในวิหารของท่าน ภิกษุนั้นเป็นพระอรหันต์" ดังนี้ ปฏิญญาอยู่ ต้องอาบัติถุลลัจจัย เพราะอาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะ เป็นตัวการณ์ ภิกษุไม่เป็นไข้ ขอโภชนะอันประณีตเพื่อประโยชน์แก่ตน ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะอาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็น ตัวการณ์ ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ขอโภชนะอันประณีตเพื่อประโยชน์แก่ตน ฉัน ต้องปาฏิเทสนียะ เพราะอาชีวะเป็นเหตุ เพราะอาชีวะเป็นตัว การณ์ ภิกษุไม่เป็นไข้ ขอแกงหรือข้าวสุกเพื่อประโยชน์แก่ตนฉัน ต้องทุกกฎ" ดังนี้ เหล่านั้นใด (หมายเอา) สิกขาบท 5 เหล่านี้ ในคำทั้งหลายมีคำว่า ล่อลวง (กุหนา) เป็นต้น ดังต่อไปนี้ :- มีพระบาลี บรรดากิริยาเหล่านั้น ล่อลวงเป็นไฉน ? การเสแสร้งทำหน้าสคิ้ว แสร้งทำหน้าเบ้ ล่อลวงเขาให้งงงวย ด้วยวิธีลวง กล่าวคือการแสร้ง ปฏิเสธปัจจัยก็ดี ด้วยการพูดเลียบเคียงก็ดี การแสร้งวางท่าตั้งท่าแต่ง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More