ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ -
- หน้าที่ 172
ทั้งหลายได้ทำเก้าอี้สัตตังคะนั้น (ถวาย) พระติปิฎกจุฬาภัยเถระ พระ
เถระได้เป็นพระอนาคามี (ภายหลังสำเร็จพระอรหัต) แล้วปริ
นิพพาน.
[ความแตกแห่งเนสัชชิกังคะ ]
ก็แล ธุดงค์แห่งภิกษุเนสัชชิกทั้ง ๓ พวกนี้ ย่อมแตกในขณะ
พอว่าสำเร็จการนอนลงไป
นี้เป็นความแตกในเนสัชชิกังคะนี้
* เถโร อนาคามี หุตวา ปรินิพพาย ท่านว่าไว้สั้นเท่านี้ ประโยคนี้มีปัญหาหลายประการ เช่น
ก. การแปล จะแปลตรงทื่อไปว่า พระเถระเป็นพระอนาคามีแล้วปรินิพพาน ก็ขัดความรู้สึก
เต็มที ข้าพเจ้าจึงเติมความในวงเล็บว่า "(ภายหลังสำเร็จพระอรหัต)".
ข. การที่ท่านอ้างอิงมาเป็นนิทัสนะเช่นนั้น จะให้เข้าใจว่ากระไร จะให้เข้าใจว่าท่านเป็นพระ
อนาคามีอยู่ก่อนแล้ว หรือว่านั่งเก้าอี้สัตตังคะแล้วจึงได้เป็น ถ้าท่านเป็นพระอนาคามีอยู่แล้ว ก็จะ
เป็นว่า
อ้างท่านเป็นนิทัสนะเพื่อแสดงว่า การนั่งเก้าอี้สัตตังคะบำเพ็ญเนสัชชิกนั้น ไม่เป็นการ
ผิด
แม้แต่ท่านพระอนาคามีท่านยังใช้ ถ้าท่านได้เป็นพระอนาคามีภายหลัง อ้างท่านมาเป็นนิทัสนะ ก็
จะ
เป็นว่า เพื่อแสดงว่า การนั่งเก้าอี้สัตตังคะบำเพ็ญเนสัชชิก มิได้ทำให้เสื่อมเสียผลประการใด ดูแต่
พระจุฬาภัยเถระ ท่านยังนั่งเก้าอี้สัตตังคะบำเพ็ญเนสัชชิก จนได้สำเร็จพระอนาคามิผล มหาฎีกาด
เหมือนจะให้เข้าใจโดยประการหลังนี้ ท่านจึงกล่าวไว้ว่า เพื่อจะแก้ความคิดเห็นที่ว่า ผู้ถือเนสัชชิก
นั่งมีที่อิงข้างหลังตามสบายอย่างนั้น จะแปลกอะไรจากผู้ไม่ถือเล่า ดังนี้ ในวิสุทธิมรรค ท่าน
จึงชักพระอภัยเถระมาเป็นนิทัสนะว่า เถโร อนาคามี หุตวา ปรินิพฺพาย
ค. ปรารภเหตุอะไร คนทั้งหลายจึงทำเก้าอี้สัตตังคะถวายท่าน (แล้วท่านก็ยอมใช้)
ไม่พบที่เล่าไว้ ก็ต้องสันนิษฐานเอาว่า เพราะท่านทุพพพลภาพ นั่งตัวเปล่าไม่ไหว แต่ก็ไม่ยอมเลิก
เนสัชชิก เขาจึงคิดทำเก้าอี้ถวายให้นั่งเป็นเนสัชชิกอย่างเพลา เรื่อนี้ก็มาเข้ากันได้พอดีกับเรื่องที่
พระภิกษุฝรั่งสมัยนี้ (ลางรูป) นั่งขัดสมาธิไม่ไหว ขอนั่งเก้าอี้ทำกรรมฐาน ท่านก็ว่าของท่านได้
ผลดีเหมือนกัน.