การสมาทานเนสัชชิกังคะ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 175
หน้าที่ 175 / 184

สรุปเนื้อหา

การสมาทานเนสัชชิกังคะ มีรายละเอียดการปฏิบัติที่สำคัญสำหรับภิกษุ โดยบุคคลสามารถเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมในการนั่งและทำจงกรม ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในทางธรรมะและการพัฒนาตนเอง เพื่อหลีกเลี่ยงความไม่สะดวกและทุกขเวทนา องค์ความรู้เหล่านี้มีความสำคัญต่อผู้ปฏิบัติธรรมให้บรรลุเป้าหมายทางจิตใจ.

หัวข้อประเด็น

-การสมาทานเนสัชชิกังคะ
-วิธีปฏิบัติของภิกษุ
-ประเภทแห่งเนสัชชิกภิกษุ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - ๑๓. เนสัชชิกังคะ [ การสมาทานเนสัชชิกังคะ ] - หน้าที่ 171 แม้เนชชิกังคะ ก็เป็นอันสมาทานด้วยคำสองคำนี้ คำใดคำหนึ่ง ว่า เสยย์ ปฏิกขิปามิ ข้าพเจ้างดการนอน เนสชชิกงฺค์ สมาทิยามิ ข้าพเจ้าสมาทานองค์ของภิกษุผู้มีอัน (สำเร็จอิริยาบถ) อยู่ด้วยการนั่ง เป็นปกติ ดังนี้ [วิธี (ปฏิบัติ) ในเนสัชชิกังคะ ] ก็แล เนสัชชิกภิกษุนั้น ใน ๓ ยามแห่งราตรี จึงลุกขึ้นจงกรม เพราะในอิริยาบถทั้งหลาย การนอนเท่านั้นไม่ควร” นี้เป็น เสียยาม ๑ วิธี (ปฏิบัติ) แห่งเนสัชชิกภิกษุ. [ ประเภทแห่งเนสัชชิกภิกษุ] က ว่าโดยประเภท แม้เนสัชชิกภิกษุนี้ก็มี ๒ จำพวก ใน ๓ พวกนั้น สำหรับผู้ถืออย่างอุกฤษ์ พนักอิง ผ้ารัดเข่า ผ้ารัดตัว ไม่ควรทั้งนั้น สำหรับผู้ถืออย่างกลาง ของ ๓ อย่างนั้น อย่างใดอย่างหนึ่งก็ใช้ได้ สำหรับผู้ถืออย่างเพลา แม้พนักอิง แม้ผ้ารัดเข่า ผ้ารัดตัว หมอน (อิง) แม้เก้าอี้ปัญจังคะ เก้าอี้สัตตังคะ ก็ใช้ได้ เก้าอี้ที่เขาทำมีพนักหลังด้วย ชื่อปัญจังคะ เก้าอี้ที่เขาทำมี พนักหลังและพนักทั้งสองข้างด้วย ชื่อสัตตังคะ ได้ยินว่า คน * ที่ต้องบอกวิธีปฏิบัติไว้เช่นนั้น อาจเกรงไปว่าจะมีภิกษุเนสัชชิกที่ถือชื่อเกินไป ไม่ยอมลุกยืน และเปลี่ยนอิริยาบถเอาเสียเลย ก็จะเกิดทุกขเวทนาขึ้น ไม่สำเร็จประโยชน์
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More