ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - - หน้าที่ 68
ฉะนั้น" ดังนี้นัยหนึ่ง อีกนัยหนึ่ง จึงทราบอรรถาธิบายในข้อนี้ว่า
"เวทนาใดที่ท่านเรียกว่าเวทนาเก่า เพราะอาศัยการบริโภคของอันไม่
เป็นสัปปายะและบริโภคเกินประมาณในปัจจุบันเกิดขึ้น ด้วยอำนาจกรรม
เก่าเป็นปัจจัย เราเมื่อยังปัจจัยแห่งเวทนาเก่านั้นให้เสื่อมไปด้วยบริโภค
อาหารที่เป็นสัปปายะและบริโภคพอประมาณ ชื่อว่าย่อมกำจัดเวทนาเก่า
นั้นเสียได้ด้วย และเวทนาใดที่เรียกว่า เวทนาใหม่ เพราะอาศัยก่อ
กรรม คือการบริโภคที่ไม่ชอบ ซึ่งตนกระทำในบัดนี้ เกิดขึ้นต่อ
เราเมื่อไม่ให้มูลแห่งเวทนาใหม่นั้นเกิดขึ้น ด้วยอำนาจ
ไป
แห่งการบริโภคชอบ
ดังนี้ก็ได้.
ชื่อว่าจักไม่ยังเวทนาใหม่นั้นให้เกิดขึ้นด้วย"
ก็แล การถือความบริโภคชอบ การละอัตตกิลมถานุโยค และ
การไม่ละเลยสุขอันชอบธรรม (๓ ประการนี้) พึงทราบว่า เป็นอัน
ทรงแสดงครบแล้ว ด้วยปาฐะเพียง ๒ ข้อนี้
ข้อว่า ยาตรา จ เม ภวิสฺสติ ความว่า ภิกษุคิดว่า "ด้วย
การบริโภคพอประมาณ ความเป็นไป กล่าวคือความดำเนินไปตลอด
กาลนาน เพราะความไม่มีอันตรายที่จะเข้ามาตัดรอนชีวิตินทรีย์ หรือ
จะบั่นทอนอิริยาบถ จักมีแก่เรา อนึ่งว่า จักมีแก่ร่างกายของเราที่มี
ความเป็นไปเนื่องด้วยปัจจัยนี้ด้วย" ดังนี้แล้วเสพ (บิณฑบาต)
เหมือนคนมีโรคเรื้อรังเสพยาแก้โรคฉะนั้น
สองบทว่า อนวช-
* คือ ปุราณญจ เวทน์ ปฏิหงขาม ข้อ ๑ นวญจ เวทน์ น อุปปาเทสสามิ ข้อ ๑ บ้าง
ก็รวมเอา วิหึสุปรติยา และ พรหมจริยานุคฺคหาย เข้าด้วยกันเป็น ๔ ข้อ