ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 6
พร้อมเพื่อวิสุทธิแห่งสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ เพื่อ
เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระ
นิพพาน นี้คืออะไร คือสติปัฏฐาน๔" "
แม้ในโพธิปักขิยธรรมอื่น มีสัมมัปปธานเป็นต้น ก็นัยเดียวกัน
แต่ในปัญหาพยากรณ์นี้ ทางแห่งวิสุทธินั้น ทรงแสดงเนื่องด้วยไตร
สิกขามีศีลเป็นต้น นี้เป็นพรรณนาโดยย่อในพระคาถานั้น
คำว่า สีเล ปติฏฺฐาย นั้น แปลว่าตั้งอยู่ในศีล ก็ภิกษุ
ทำศีลให้บริบูรณ์นั่นเอง เรียกว่าผู้ตั้งอยู่ในศีล ในที่นี้ เพราะฉะนั้น
ความหมายในคำว่า สีเล ปติฏฺฐาย นี้ จึงมีดังนี้ว่า ตั้งอยู่ในศีล
โดยทำให้ศีลบริบูรณ์ บทว่า นโร ได้แก่สัตว์” บทว่า สปญฺโญ
ความว่า "ผู้มีปัญญา โดยปัญญาอันมาพร้อมกับปฏิสนธิอันเป็นไตร-
๑. ที. ม. ๑๐/๒๒๕ ๒. นโรติ สตฺโต, รู้สึกว่าท่านแก้ออกจะมากไป สำหรับนักศึกษา
ชาวไทยฝังใจกันมานานแล้วว่า นโร นี้แปลว่า คน ไม่เคยแปล นโร ว่าสัตว์ จริงอยู่คำว่าสัตว์
นั้นเป็นคำรวม จะหมายความถึงมนุษย์หรือดิรัจฉานตลอดไปถึงเทวดามารพรหมอะไรก็ได้ แต่
บรรดาที่มีวิญญาณครอง และแม้ว่าอาจารย์ทางศัพทศาสตร์ท่านจะวิเคราะห์ศัพท์นโรนี้ว่า สัตว์อัน
ชรามรณะนำไป แต่ว่าโดยเฉพาะในพระคาถานี้ ต้องเป็นคน จึงจะเหมาะสมแก่การตั้งอยู่ในศีล
และบำเพ็ญสมาธิปัญญาได้
ในทางไวยากรณ์ บทที่จะเป็นประธานได้ในพระคาถานี้มีอยู่ ๒ บท คือ นโร กับภิกขุ แต่
จะเป็นสยกัตตาทั้ง ๒ บทไม่ได้ จำต้องเป็นสยกัตตาบทหนึ่ง อีกบทหนึ่งเป็นวิกติกัตตา ถ้าดูตาม
ที่ท่านแก้ไว้ คือแปล นโร ว่าสัตว์ ส่วน ภิกขุ ท่านวิเคราะห์ว่า สาเร ภัย อีกขชาติ ภิกขุ
ก็คือว่า ให้แปล ภิกขุ ว่าผู้เห็นภัยในสงสาร เช่นนี้ก็ประหนึ่งว่าจะยกให้ นโร เป็นสยกัตตา คือ
แปลคาถานั้นว่า "สัตว์ผู้ฉลาด ตั้งอยู่ในศีล ฯลฯ มีปัญญาเห็นภัยในสงสาร ฯลฯ" แต่ว่าโดย
ทางความ สู้เอา ภิกขุ เป็นสยกัตตาไม่ได้ ดังที่นักศึกษาเข้าใจและแปลกันอยู่ทั่วไปเช่นนั้น ถ้า
ดังนี้แล้วไซร้ คงจะแปล นโร ว่าสัตว์ เอาความว่า ภิกษุผู้เป็นสัตว์ฉลาด ฯลฯ
1 ดังนี้ จะขัดหู
คนไทยอย่างยิ่ง อันที่จริงบทว่า นโร ก็ดูจะเป็นเพียงบทบูรณ คือใส่เข้ามาให้เต็มคณะฉันท์เท่านั้น
โดยว่าจะไม่มี นโร ก็คงแปลได้ความบริบูรณ์ ดีกว่ามีนโรเสียอีก