การสมาทานขลุปัจฉาภัตติยังคะ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 156
หน้าที่ 156 / 184

สรุปเนื้อหา

ขลุปัจฉาภัตติยังคะ เป็นการสมาทานที่ต้องใช้คำนั้น โดยมีการห้ามโภชนะเพิ่มเติมหลังจากรับประทานไปแล้ว แบ่งการถือครองเป็น 3 ประเภทที่แตกต่างกัน เรื่องนี้มีความสำคัญในบริบทของภิกษุที่มีวิธีปฏิบัติที่เคร่งครัดเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร และถูกกำหนดโดยการไม่รับประทานอาหารหลังจากมีการรับประทานอาหารในรายการแรก ซึ่งช่วยในการปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา โดยอาจแสดงถึงการมีระเบียบวินัยในตัว

หัวข้อประเด็น

- ขลุปัจฉาภัตติ
- ภิกษุ
- การสมาทาน
- โภชนะ
- การปฏิบัติในศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - ๓. ขลุปัจฉาภัตติยังคะ - หน้าที่ 152 [ การสมาทานขลุปัจฉาภัตติยังคะ ] แม้ขลุปัจฉาภัตติกังคะก็เป็นอันสมาทานด้วยคำสองคำนี้ คำใด คำหนึ่งว่า อติริตฺตโภชน์ ปฏิกขิปามิ ข้าพเจ้างดโภชนะอันเป็น อติริตตะเสีย ขลุปจฉาภตฺติกงค์ สมาทิยามิ ข้าพเจ้าสมทานองค์ ของภิกษุผู้มีการไม่ฉันภัตรภายหลังเป็นปกติ [วิธี (ปฏิบัติ) ในขลุปัจฉาภัตติยังคะ] ก็ภิกษุขลุปัจฉาภัตติกะนั้นห้ามภัตรแล้ว จะให้ทำโภชนะให้เป็น กัปปิยะแล้วฉันอีกไม่ได้ นี้เป็นวิธี (ปฏิบัติ) แห่งขลุปัจฉาภัตติก ภิกษุนั้น. [ ประเภทแห่งขลุปัจฉาภัตติกภิกษุ] ว่าโดยประเภท แม้ขลุปัจฉาภัตติกภิกษุนี้ ก็มี ๓ พวก ใน ๓ พวกนัน ท่านผู้ถืออย่างอุกฤษฎ์ เพราะเหตุที่ชื่อว่าการห้าม ในบิณฑบาตแรกย่อมไม่มี แต่เมื่อเธอกลืนบิณฑบาตรายแรกนั้น เข้าไป ก็ (ถือว่า) เป็นอันห้ามรายอื่น เพราะเหตุนั้น เธอได้ชื่อว่า ห้าม (ภัต) อย่างนั้นแล้ว ครั้นกลืนบิณฑบาตรายแรกเข้าไปแล้ว ย่อมไม่ฉันบิณฑบาตรายที่ ๒ (ต่อไป) ผู้ถืออย่างกลาง ห้าม (โภชนะอื่น) ใน (ขณะฉัน) โภชนะใด ย่อมฉันแต่โภชนะนั้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More