วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - ธุดงค์และสมาทานเจตนา วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 131
หน้าที่ 131 / 184

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้กล่าวถึงการธุดงค์และสมาทานเจตนาในพิธีกรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำ รวมถึงการวินิจฉัยเกี่ยวกับธุดงค์ต่างๆ ที่มีความสำคัญในการปฏิบัติธรรม หลังจากมรณภาพของพระพุทธเจ้า การสมาทานควรเกิดขึ้นในสำนักของพระมหาสาวกหรือภิกษุผู้ทรงธุดงค์ การกำจัดความละโมบและการฝึกฝนให้มีมักน้อยเป็นสิ่งที่ต้องยึดถือ ข้อความดังกล่าวมีความสำคัญในการพัฒนาทางจิตวิญญาณและการปฏิบัติตามหลักธรรม

หัวข้อประเด็น

-ธุดงค์
-สมาทานเจตนา
-พระพุทธศาสนา
-อริยธรรม
-การปฏิบัติธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - [วินิจฉัยโดยลักษณะเป็นต้น] - หน้าที่ 127 ก็ธุดงค์ทั้งหมดนี้ มีสมาทานเจตนาเป็นลักษณะ จริงอยู่แม้คำนี้ ท่านก็ได้กล่าวไว้ว่า "ผู้สมาทานได้แก่บุคคล ธรรมเครื่องสมาทาน ได้แก่จิตและเจตสิก สมาทานเจตนาเป็นตัวธุดงค์ สิ่งที่ห้ามคือวัตถุ” อนึ่ง ธุดงค์ทั้งหมดนั่นมีอันกำจัดความละโมบเป็นรส มีอันราศจาก ความโลเลเป็นเครื่องปรากฏ มีอริยธรรมมีความมักน้อยเป็นต้นเป็น ปทัฏฐาน, ในบทเล่านั้น พึงทราบวินิจฉัยโดยปกิณณกะมีลักษณะ เป็นต้น ดังนี้. [ [วินิจฉัยโดยการสมาทาน และวิธี (ปฏิบัติ) เป็นต้น] ส่วนวินิจฉัยใน ๕ บท มีบทว่า โดยการสมาทานและวิธี (ปฏิบัติ) เป็นต้น พึงทราบต่อไป :- ธุดงค์ทั้งหมดนั่น เมื่อพระผู้มี พระภาคเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ พึงสมาทานในสำนักของพระผู้มีพระภาค เจ้า เมื่อพระองค์เสด็จปรินิพพานแล้ว พึงสมาทานในสำนักของพระ มหาสาวก เมื่อพระมหาสาวกไม่มี พึงสมาทานในสำนักพระขีณาสพ... พระอนาคามี... พระสกทาคามี...พระโสดาบัน... ภิกษุผู้ทรงไตรปิฎก ภิกษุผู้ทรงทวีปิฎก....ภิกษุผู้ทรงเอกปิฎก....พระเอกสังคีติกะ...พระอรรถ กถาจารย์ เมื่อพระอรรถกถาจารย์นั้นไม่มี พึงสมาทานในสำนักภิกษุ ผู้ทรงธุดงค์ แม้เมื่อท่านผู้ทรงธุดงค์ไม่มี จึงกวาดลานพระเจดีย์แล้ว นั่งกระโหย่ง กล่าวสมาทานเหมือนอย่างกล่าวในสำนักของพระสัมมา สัมพุทธเจ้าเถิด แม้ว่าสมาทานด้วยตนเองก็ใช้ได้เหมือนกัน ก็แล * เอกสังคีติกะ มหาฎีกาว่า หมายเอาภิกษุผู้ทรงพระสูตรนิกาย ๑ ใน ๕ นิกาย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More