ประเภทแห่งโสสานิกภิกษุ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 171
หน้าที่ 171 / 184

สรุปเนื้อหา

บทนี้พูดถึงประเภทแห่งโสสานิกภิกษุที่แบ่งออกเป็นสามกลุ่มและลักษณะต่าง ๆ ของพวกเขาที่ป่าช้า อย่างเช่น ผู้ถืออย่างอุกฤษฎ์ ผู้ถืออย่างกลางและผู้ถืออย่างเพลา และอธิบายความแตกต่างของธุดงค์ในแต่ละกลุ่ม นอกจากนี้ยังกล่าวถึงอานิสงส์ที่เกิดขึ้นจากการฝึกฝนเป็นโสสานิกภิกษุ เช่น การมีมรณสติ ความไม่ประมาท รู้สภาพของร่างกายและการเคารพจากอมนุษย์ต่างๆ.

หัวข้อประเด็น

-ประเภทแห่งโสสานิกภิกษุ
-ความแตกต่างของโสสานิกังกะ
-อานิสงส์แห่งโสสานิกังคะ
-ธุดงค์ของโสสานิกภิกษุ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ว่าโดยประเภท ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - [ ประเภทแห่งโสสานิกภิกษุ ] - หน้าที่ 167 แม้โสสานิกภิกษุนี้ก็มี ∞ พวก ใน ๓ พวก นั้น ผู้ถืออย่างอุกฤษฎ์ จึงอยู่แต่ในป่าช้าที่ (ได้ลักษณะ ๓ คือ) มีการเผาศพเป็นประจำ มีซากศพ (ทอดอยู่) มิได้ขาด และมีเสียง ร้องไห้อยู่เนืองนิตย์ สำหรับผู้ถืออย่างกลาง ในป่าช้าที่ได้ลักษณะ หนึ่งใน ๓ ลักษณะ (นั้น) ก็ใช้ได้ สำหรับผู้ถืออย่างเพลา ใน ที่ ๆ สักว่าได้ลักษณะป่าช้าโดยนัยที่กล่าวแล้ว ก็ใช้ได้ [ ความแตกแห่งโสสานิกังคะ ] ก็ธุดงค์แห่งโสสานิกภิกษุทั้ง ๓ พวกนี้ ย่อมแตกเพราะสำเร็จ ความอยู่ในที่อันมิใช่ป่าช้า (ส่วน) พระอังคุตตรภาณกาจารย์ กล่าว ว่า (ธุดงค์นี้แตก) ในวันที่เธอไม่ไปป่าช้า นี้เป็นความแตกใน โสสานิกังคะนี้. [ อานิสงส์แห่งโสสานิกังคะ ] ส่วนอานิสงส์ดังต่อไปนี้ คือ (๑) ได้มรณสติ (๒) อยู่ด้วย ความไม่ประมาทเป็นปกติ (๓) บรรลุอสุภนิมิต (๔) บรรเทา กามราคะได้ (๕) เห็นสภาพของร่างกายเนือง ๆ (๖) มีความ สังเวชหนัก (๓) ละความเมา มีเมาในความไม่มีโรคเป็นอาทิได้ (๘) ข่มความกลัวภัยได้ (๕) เป็นที่เคารพที่สรรเสริญแห่งอมนุษย์ ทั้งหลาย (๑๐) มีความประพฤติสมควรแก่ธุตธรรม มีความมักน้อย เป็นต้น.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More