ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ -
- หน้าที่ 92
เป็นการบริโภคโดยความไม่มีหนี้ เพราะความเป็นข้าศึกต่ออิณบริโภค
ก็ได้ หรือจะสงเคราะห์เข้าในทายัชชบริโภคก็ได้เหมือนกัน เพราะ
แม้คนผู้มีศีลก็เรียกว่าเสขะได้ เหตุประกอบพร้อมด้วยสิกขา (คือศีล)
นี้ ก็แลในบริโภคเหล่านี้ เพราะเหตุที่สามีบริโภคเป็นเลิศ เหตุนั้น
ปัจจยสันนิสิตศีล ภิกษุเมื่อปรารถนาสามีบริโภคนั้น พิจารณาด้วย
ปัจจเวกขณะมีประการดังกล่าวแล้วบริโภคอยู่ (นั้นแล) จึงทำให้ถึง
พร้อมได้.
อันภิกษุผู้ทำอยู่อย่างนี้ ย่อมชื่อว่าเป็นกิจจการี จริงอยู่ แม้คำนี้
ท่านก็ได้กล่าวไว้ว่า
ด.
"สาวกผู้มีปัญญาดี ได้ฟังธรรมอันพระสุคตเจ้า
ทรงแสดงแล้ว พึงพิจารณาก่อนแล้วจึงเสพ
ก้อนข้าว ที่อยู่ และที่นอน ที่นั่ง น้ำสำหรับซัก
ฟอกธุลีในผ้าสังฆาฏิ" เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุ
จึงเป็นผู้ไม่ติดอยู่ในสิ่งเหล่านี้ คือในก้อนข้าว
ในที่นอน ที่นั่ง และในน้ำสำหรับซักฟองธุลีในผ้า
วรปญฺญสาวโก มหาฎีกาแนะให้แปลว่า สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงมีปัญญาอัน
ประเสริฐ เห็นไม่จำเป็นจะแปลเช่นนั้น
๒. อาปญฺจ สงฆาฏิรชูปวาหนิ ในมหาฎีกาแก้ไว้ว่า อาปนฺติ อุทก์ สงฆาฏิรชูปวาหนุนุติ
ปัสุมลาทิโน สงฺฆาฏิคตรชสฺส โธวน น่าคิดว่า น้ำสำหรับสุผ้า นับเข้าในปัจจัยข้อไหน จึงจะต้อง
พิจารณาก่อนเสพ และไฉนจึงไม่ให้พิจารณาตัวผ้า กลับให้พิจารณาเครื่องเครื่องซักเล่า
มหาฎีกาจารย์ก็คงรู้สึกอย่างนี้ ท่านจึงกล่าวในตอนแก้บท สงฺขาย ว่า ก็คือพิจารณาปัจจัย ๔
นั่นเอง บท ปิณฺฑ์ ได้แก่บิณฑบาต วิหาร กับ สยนาสน์ ได้แก่เสนาสนะ อาป์ ได้แก่คิลานปัจจัย
สงฺฆาฏิ ก็หมายถึงจีวรนั่นเอง