วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - ขลุปัจฉาภัตติ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 157
หน้าที่ 157 / 184

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการแสดงความแตกต่างของขลุปัจฉาภัตติในที่ที่พวกเธอควรห้ามการฉันอาหารและอานิสงส์จากการปฏิบัติเช่นนั้น โดยเน้นถึงความสำคัญของการมีมรรคทางจิต และการมีวิธีชีวิตที่เรียบง่าย ที่ช่วยให้ห่างไกลจากอาบัติและมีความสงบในจิตใจ. พระโยคีที่มีความประพฤติสมควรมีความเจริญด้วยคุณ และตั้งใจในชีวิตด้วยสันโดษหรือความมักน้อย.

หัวข้อประเด็น

-วิสุทธิมรรค
-ความเห็นในขลุปัจฉาภัตติ
-อานิสงส์จากการฉันอาหาร
-การทำธุดงค์ในพระพุทธศาสนา
-คำสอนเกี่ยวกับความมักน้อย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - - หน้าที่ เท่านั้น ผู้ถืออย่างเพลาย่อมฉันได้ตอดเวลาที่ตนยังไม่ลุกจากอาสนะ [ ความแตกแห่งขลุปัจฉาภัตติยังคะ ] ก็ธุดงค์ของขลุปัจฉาภัตติภิกษุทั้ง ๓ พวกนี้ ย่อมแตกในขณะ ที่เมื่อเธอห้าม (โภชนะ) แล้ว ให้ทำเป็นกัปปิยะฉัน นี้เป็นความ แตกในขลุปัจฉาภัตติกังคะนี้ [ อานิสงส์แห่งขลุปัจฉาภัตติยังคะ ] ad ส่วนอานิสงส์มีดังต่อไปนี้ คือ (๑) เป็นผู้ไกลจากอาบัติ าบัต ต้อง เพราะฉันอนติริตตโภชนะ (๒) ไม่มีแน่นท้อง (๓) ไม่มีการสั่งสม อามิส (๔) (ฉันแล้ว) ไม่ต้องแสวงหาอีก (๕) มีความประพฤติ สมควรแก่ธุตธรรม มีความมักน้อยเป็นต้น และ [ คาถาสรูป ] ขลุปัจฉาภัตติกโยคีผู้มีปัญญา ย่อมไม่ลำบาก ในการแสวงหา ไม่ทำสันนิธิ หายความแน่นท้อง เหตุนั้น พระโยคีผู้ปรารถนาจะกำจัดโทษทั้งหลาย พึงเสพธุดงค์ข้อนี้ อันพระสุคตเจ้าทรงสรรเสริญ อันเป็นเหตุให้เกิดความเจริญด้วยคุณ มีคุณคือ สันโดษเป็นต้น เทอญ. 153 * นี่ก็เข้าใจยาก จะเป็นเช่นนี้กระมัง ผู้ถืออย่างอุกฤษฎ์ เมื่อลงมือฉันอาหารรายแรกแล้ว เป็นอันห้ามรายอื่น โดยอัตโนมัติ ผู้ถืออย่างกลาง ขณะฉันอาหารอยู่มีผู้น้อมอาหารเข้ามาถวาย ถ้าเธอห้าม ก็คงฉันอาหารที่กำลังฉันอยู่นั้นได้ต่อไป ส่วนผู้ถืออย่างเพลา ท่านกำหนดเอา อาสนะเป็นเกณฑ์ จะฉันอาหารที่นำมาเติมได้ตลอดเวลาที่ยังไม่ลุกจากอาสนะ ?
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More