วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - ประโยค๘ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 136
หน้าที่ 136 / 184

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงการจัดการผ้าในศาสนาพุทธ รวมถึงประเภทของผ้าที่ภิกษุสามารถถือได้ โดยเริ่มจากผ้าที่ตกจากความลืมของเจ้าของไปจนถึงการถวายของทายก แสดงให้เห็นถึงความบริสุทธิ์ในแต่ละประเภทของผ้าตามหลักทางศาสนา ข้อมูลนี้มีความสำคัญต่อการศึกษาและการปฏิบัติในชีวิตของภิกษุ.

หัวข้อประเด็น

-ประเภทของผ้าในศาสนาพุทธ
-ความบริสุทธิ์ของผ้า
-การถวายผ้าของทายก
-บทบาทของภิกษุในการรักษาผ้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 132 ปันถกะ ก็ผ้าใดตกลงเพราะความหลงลืมสติแห่งเจ้าของ ผ้านั้นภิกษุ ควรรักษาไว้ชั่วหน่อยหนึ่งแล้วจึงถือเอา ผ้าที่ลมพัดไปตกในที่ไกล ชื่อว่า วาตาหฏะ ก็ภิกษุ เมื่อไม่เห็นเจ้าของ จะถือเอาผ้านั้นก็ควร ผ้าที่เทวดาถวาย ดุจผ้าที่เทวดาถวายแก่พระอนุรุทธเถระฉะนั้น ชื่อว่า เทวทัตติยะ ผ้าที่คลื่นทะเลซัดขึ้นบก ชื่อ สามุททิยะ ส่วนผ้าใดที่ทายกกล่าวคำว่า สงฺฆสฺส เทม (ข้าพเจ้าทั้งหลาย ถวายแก่สงฆ์) ถวายก็ดี ที่ภิกษุผู้เที่ยวไปภิกขาผ้าได้มาก็ดี ผ้านั้น ไม่เป็นผ้าบังสุกุล, แม้ในผ้าที่ภิกษุด้วยกันให้ ผ้าใดที่จีวรภาชกะแจก ให้ตามลำดับพรรษาก็ดี จีวรประจำเสนาสนะก็ดี ผ้านั้นก็ไม่เป็นผ้า บังสุกุล, ผ้าที่จีวรภาชกะไม่ได้แจกให้เท่านั้น จึงเป็นผ้าบังสุกุล. แม้ ในผ้าบังสุกุลชนิดนั้น ผ้าใดที่ทายกทอดไว้แทบเท้าของภิกษุ (รูปหนึ่ง) แต่ภิกษุนั้น (ถือเอาไป) วางถวายในมือของปังสุกุลิกภิกษุ (อีก ทอดหนึ่ง) ผ้านั้น ชื่อว่า เอกโตสุทธิกะ (บริสุทธิ์ฝ่ายเดียว) ผ้าใดที่ทายกวางถวายในมือของภิกษุ (รูปหนึ่ง) แล้วภิกษุนั้น (นำไป) ทอดไว้แทบเท้า (ของปังสุกุลกภิกษุ) แม้ผ้านั้นก็เป็น เอกโตสุทธิกะ ผ้าใดที่ทั้งทายกก็ทอดไว้แทบเท้าของภิกษุ (รูปหนึ่ง) ทั้งภิกษุนั้นก็ถวาย (แก่ปังสุกุลกภิกษุ) โดยวิธีอย่างเดียวกัน ผ้านั้น จึงเป็นอุภโตสุทธิกะ (บริสุทธิ์สองฝ่าย) ผ้าใดที่ภิกษุได้มาเพราะ (ทายก) วาง (ถวาย) ในมือ แล้วภิกษุนั้นก็ (นำไป) วาง * เสนาสนจีวร มหาฎีกาขยายความว่า ทายกสร้างเสนาสนะขึ้นแล้ว ถวายจีวรไว้สำหรับ เสนาสนะด้วย โดยเจาะจงไว้ให้เฉพาะภิกษุที่มาอยู่ในเสนาสนะนั้นใช้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More