ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ -
- หน้าที่
176
เป็นธุตวาทะก็มี, บุคคลไม่เป็นธุตะ แต่เป็นธุตวาทะก็มี, บุคคลไม่
เป็นทั้งธุตะทั้งธุตวาทะก็มี, บุคคลเป็นทั้งธุตะทั้งธุตวาทะก็มี, ในบุคคล
๔ จำพวกนั้น บุคคลใดกำจัดกิเลสทั้งหลายของตนด้วยธุดงค์ แต่ไม่
แนะนำพร่ำสอนผู้อื่นด้วยธุดงค์ ดุจพระพากุลเถระ บุคคลนี้เป็นธุตะ
แต่ไม่เป็นธุตวาทะ ดังท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ที่เป็นธุตะ แต่ไม่เป็นธุตวาทะ
นี้นั้น คือท่านพากุละ ส่วนบุคคลใดไม่กำจัดกิเลสทั้งหลายของตนด้วย
ธุดงค์ ได้แต่แนะนำพร่ำสอนคนอื่น ๆ ด้วยธุดงค์ ดุจพระอุปนนทเถระ
บุคคลนี้ไม่เป็นธุตะ แต่เป็นธุตวาทะ ดังท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ที่ไม่เป็น
ธุตะ แต่เป็นธุตวาทะนี้นั้น คือท่านอุปนนทสักยบุตร. บุคคลใดขาด
ไปทั้ง ๒ ทาง ดุจพระโลฬุทายี บุคคลนี้ไม่เป็นทั้งธุตะทั้งธุตวาทะ ดัง
ท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ที่ไม่เป็นทั้งธุตะและธุตวาทะนี้นั้น คือ ท่านโลฬุทายี
ส่วนบุคคลใดถึงพร้อมทั้ง ๒ ทาง ดุจพระธรรมเสนาบดี บุคคลนี้เป็น
ทั้งธุตะทั้งชุดวาทะ ดังท่านกล่าวไว้ว่า ผู้ที่เป็นทั้งธุตะทั้งชุดวาทะนี้นั้น
คือ ท่านสารีบุตร ดังนี้
[ ธุตธรรม ]
ข้อว่า พึงทราบธุตธรรมทั้งหลาย นั้น มีวินิจฉัยว่า ธรรม ๕
ประการ อันเป็นบริวารของธุดงคเจตนาเหล่านี้ คือ อปปิจฉตา
(ความมักน้อย) สนฺตุฏฐิตา (ความสันโดษ) สลเลขตา (ความ
ปฏิบัติขัดเกลากิเลส) ปวิเวกตา (ความอยู่เงียบสงัด) อิทมุตถิตา
(ความรู้ว่าสิ่งนี้มีประโยชน์)ชื่อว่า ธุตธรรม โดยพระบาลีว่า (ภิกษุ