ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ -
- หน้าที่ 179
ไม่ควรเสพ ก็เป็น ๒ เหมือนกัน ก็เมื่อภิกษุใดเสพธุดงค์อยู่ กรรม
ฐานเจริญขึ้น ภิกษุนั้นก็ควรเสพ เมื่อภิกษุใดเสพเข้า กรรมฐานเสื่อม
ภิกษุนั้นก็ไม่ควรเสพ อนึ่ง แม้ผู้ที่ถึงจะเสพไม่เสพ กรรมฐานก็คง
เจริญไม่เสื่อม เมื่อ (คิด) อนุเคราะห์ประชุมชนภายหลัง ก็ควร
เสพ แม้ผู้ที่ถึงจะเสพไม่เสพ กรรมฐานก็ไม่เจริญเล่า ก็ควรเสพ
เหมือนกัน เพื่อเป็นวาสนาต่อไป ธุดงค์เป็น ๒ ก็ได้ โดยจัดเป็น
องค์ที่ควรเสพ และไม่ควรเสพ ดังนี้แล
แม้ในอรรถกถาทั้งหลาย ก็กล่าว (ย่อ) ไว้ว่า "ธุดงค์ทั้งปวง
นั่น เป็นอย่างเดียวด้วยอำนาจแห่งเจตนา เพราะเจตนาในการสมาทาน
ธุดงค์เป็นอันเดียวเท่านั้น" ดังนี้ ลางอาจารย์ก็ว่าไว้ (ง่ายๆ) ว่า
"เจตนาอันใด ธุดงค์อันนั้น" (ธุดงค์ก็คือเจตนา)
[ โดยพิสดาร ]
ส่วนโดยพิสดาร ธุดงค์เป็น ๔๒ คือ สำหรับภิกษุ สําหรับ
๑๑
สำหรับสิกขมานาและสามเณรี ๓
อยู่ใน
สำหรับอุบาสกอุบาสิกา ๒ ก็ถ้าป่าช้าได้ลักษณะอารัญญิกังคะ
ภิกษุณี ๔ สำหรับสามเณร ๑๒
ที่แจ้งไซร้
แม้ภิกษุรูปเดียวก็อาจบริโภคธุดงค์ได้หมดทุกข้อคราว
เดียวกัน” ส่วนภิกษุณี อารัญญิกังคะและขลุปัจฉาภัตติยังคะทั้ง ๒
ข้อ
ทรงห้ามไว้ด้วยสิกขาบทเดียว องค์ ๓ คือ อัพโภกาสกังคะ
* เพราะเหตุที่ธุดงค์ลางข้อขัดกัน เช่น รุกขมูลกังคะ กับ อัพโภกาสกังคะ ต่างว่ารักษา
อัพโภกาสิกังคะอยู่ จะรักษารุกขมูลกังคะไปพร้อมกันได้อย่างไร มหาฎีกาท่านชี้ช่องให้ว่า
คำสมาทานรุกขมูลกังคะว่า ฉนุนธ์ ปฏิกขิปาม รุกขมูลิกงค์ สมาทิยามิ เพราะฉะนั้น ธุดงค์ข้อ
นี้
จะแตกก็เมื่อปล่อยให้อรุณขึ้นในที่มุงบังเท่านั้น หากอรุณขึ้นเมื่อเธอไปนั่งอยู่กลางแจ้ง ธุดงค์หา
แตกไม่ รุกขมูลกังคะ กับ อัพโภกาสกังคะ จึงเป็นอันรักษาไปด้วยกันได้ ดังนี้