วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - อนาจาระทางกายและวาจา วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 42
หน้าที่ 42 / 184

สรุปเนื้อหา

ในพระศาสนา มีการเตือนเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของภิกษุ โดยเฉพาะการไม่ให้ความยำเกรงต่อภิกษุผู้เถระ การพูดหรือยืนใกล้เกินไป รวมถึงการกระทำที่ถือว่าเป็นอนาจาระทางกายและวาจา ซึ่งทำให้เกิดการรบกวนและความไม่เหมาะสมในสถานที่สักการะ เช่นการยืนค้ำหัวหรือการนั่งในที่ไม่เหมาะสม การไม่ขอโอกาสภิกษุผู้เถระก่อนพูด หรือการแทรกแซงโดยไม่ให้เกียรติ อนาจาระทางกายมีหลายรูปแบบ รวมถึงการเบียดเสียดหรือไม่ให้เกียรติในที่ชุมนุม การกระทำเหล่านี้ทำให้เกิดการขาดความเคารพในชุมนุมสงฆ์ ทำให้เกิดการวิเคราะห์และเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเองในศาสนา โดยรณรงค์ให้ปฏิบัติตนอย่างมีระเบียบและเคารพต่อกันในชุมนุม.

หัวข้อประเด็น

-อนาจาระทางกาย
-อนาจาระทางวาจา
-การปฏิบัติตนในพระศาสนา
-ความเคารพในชุมนุมสงฆ์
-ภิกษุผู้เถระและภิกษุใหม่

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 39 ในพระศาสนานี้ แม้อยู่ในชุมนุมสงฆ์ ก็ไม่กระทำความยำเกรง ยืน เบียดบ้าง นั่งเบียดบ้าง ซึ่งภิกษุทั้งหลายผู้เถระ ยืนหน้า (ท่าน) บ้าง นั่งหน้า (ท่าน) บ้าง นั่งอาสนะสูง (กว่าท่าน) บ้าง นั่งคลุมศีรษะบ้าง ยืนพูดบ้าง ยกมือขวักไขว่พูดบ้าง เมื่อภิกษุผู้เถระไม่สวมรองเท้า จงกรมอยู่ ตนสวมรองเท้าจงกรมบ้าง เมื่อท่านจงกรมอยู่ในที่จงกรม ต่ำ ตนจงกรมอยู่ในที่จงกรมสูงบ้าง เมื่อท่านจงกรมอยู่ที่พื้นดิน ตน จงกรมบนที่จงกรมบ้าง ยืนแทรกบ้าง นั่งแทรกบ้าง ซึ่งภิกษุผู้เถระ กันภิกษุใหม่ด้วยอาสนะบ้าง” ยังไม่ทันขอโอกาสภิกษุผู้เถระ แม้ใน เรือนไฟ ขนฟืนไป ปิดประตูไป แม้ที่ท่าน้ำ เดินเสียดสีภิกษุผู้เถระ ลงไปบ้าง ลงก่อนบ้าง เบียดอาบบ้าง อาบก่อนบ้าง เบียดขึ้นบ้าง ขึ้นก่อนบ้าง แม้เข้าไปสู่ละแวกบ้านก็เดินเบียดเสียดภิกษุผู้เถระไปบ้าง ไปก่อนท่านบ้าง หลีกขึ้นหน้าพระเถระไปบ้าง อนึ่ง ห้องเรือนของ ตระกูลทั้งหลายที่เป็นห้องลับและเขาปิดไว้ ซึ่งเป็นที่กุลสตรีกุลกุมารีนั่ง กัน ก็ผลุนผลันเข้าไปในห้องนั้นบ้าง ลูบคลำศีรษะเด็กชายบ้าง นี้ เรียกว่าอนาจาระทางกาย ใน ๒ อย่างนั้น อนาจาระทางวาจาเป็นไฉน ? ภิกษุลางรูปใน ศาสนานี้ แม้อยู่ในชุมนุมสงฆ์ก็ไม่ทำความยำเกรง ยังมิได้ขอโอกาส ภิกษุผู้เถระ กล่าวธรรมไป แก้ปัญหาไป สวดปาฏิโมกข์ไป ยืนพูด ๑. มหาฎีกาขยายความว่า อุปริ ติฏฐนฺโต วัย อาสนุนตรฏฐาเน จิตโกปิ ภณติ "ยืนพูดอยู่ ใกล้ท่านมาก ราวกะยืนอยู่บน (ศีรษะท่าน)” ยืนแบบนี้ ภาษาไทยว่า ยืนค้ำ (หัว), ๒. คือไม่นั่งตามที่อันสมควรแก่ตน นั่งหลังไปหรือนั่งต่ำไป เป็นเหตุให้ภิกษุใหม่หาที่นั่งไม่ได้ เพราะที่อันสมควรแก่ตน ท่านนั่งเสียแล้ว จะไปนั่งหน้าเหนือท่านก็ไม่ได้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More