การสมาทานอารัญญิกังคะในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 158
หน้าที่ 158 / 184

สรุปเนื้อหา

บทนี้อธิบายถึงการสมาทานอารัญญิกังคะ ซึ่งเป็นการให้พระภิกษุไม่อยู่ในเสนาสนะชายบ้าน โดยมีการเน้นย้ำถึงการปฏิบัติและวินัยของภิกษุที่ต้องละเสนาสนะเขตบ้านไปอยู่ในป่า การระบุคุณสมบัติของบ้านและเสนาสนะในบริบทนี้ นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่และการอยู่ในป่าอย่างเหมาะสมและถูกต้องตามหลักศาสนา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับคำสอนต่าง ๆ สามารถเข้าไปที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-การสมาทานอารัญญิกังคะ
-วิธีปฏิบัติในอรัญญิกังคะ
-วินัยพระภิกษุ
-การละเสนาสนะชายบ้าน
-ความหมายของเสนาสนะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - - หน้าที่ 154 นี้เป็นคำพรรณนาการสมาทาน วิธี (ปฏิบัติ) ประเภท ความแตก และอานิสงส์ในขลุปัจฉาภัตติยังคะ 4. อารัญญิกังคะ [การสมาทานอารัญญิกังคะ ] แม้อรัญญิกังคะ ก็เป็นอันสมาทานด้วยคำสองคำนี้ คำใด คำหนึ่งว่า คามนิตเสนาสน์ ปฏิกขิปามิ ข้าพเจ้างดเสนาสนะชายบ้าน อารญญิกงค์ สมาทิยามิ ในป่าเป็นปกติ. ข้าพเจ้าสมาทานองค์แห่งภิกษุผู้มีการอยู่ [วิธี (ปฏิบัติ) ในอรัญญิกังคะ] ก็อารัญญิกภิกษุนั้น พึงละเสนาสนะชายบ้านเสียแล้ว ยังอรุณ ให้ตั้งขึ้นในป่าเถิด. [วินิจฉัยเสนาสนะป่า] บ้านกับทั้งอุปจารนั่นแล ชื่อว่า เสนาสนะชายบ้าน ในคำนั้น บ้านมีกระท่อมหลังเดียวหรือหลายหลังก็ตาม มีรั้วล้อม หรือไม่มี รั้วล้อมก็ตาม มีคนอยู่ หรือไม่มีคนอยู่ก็ตาม อย่างใดอย่างหนึ่ง ชื่อว่าบ้าน โดยที่สุดแม้หมู่เกวียนใด ๆ ที่จอดพักอยู่เกินกว่า 4 เดือน ก็ชื่อว่าบ้าน สำหรับบ้านที่มีรั้วล้อม ถ้ามีอินทขีล ๒ ชั้น เหมือน อนุราธปุระ ที่ ๆ ก้อนดินตกแห่งบุรุษผู้มีกำลังปานกลาง ยืนที่อินทขีล ชั้นใน (ขว้างไปเต็มแรง) ชื่อว่า อุปจารบ้าน พระวินัยธรทั้งหลาย * อินทขีล ตรงนี้ มหาฎีกาท่านแก้เป็น อุมมาร ซึ่งแปลกันว่า ธรณีประตู
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More