ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 134
ผู้อื่น (๕) ไม่มีความกลัวเพราะโจรภัย (6) ไม่มีตัณหาในการ
บริโภค (๒) มีบริขารเป็นสมณสารูป (4) มีปัจจัยตามที่พระ
ผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญไว้ว่า เป็นของเล็กน้อยด้วย เป็นของหา
ได้ง่ายด้วย เป็นของหาโทษมิได้ด้วย" (8) เป็นผู้น่าเลื่อมใส (๑๐)
ธุตธรรมมีความมักน้อยเป็นต้นอำนวยผล (๑๑) สัมมาปฏิบัติเพิ่มพูน
ขึ้น (๑๒) ทำให้ประชุมชนผู้เกิดในภายหลังได้ทิฏฐานคติ
[ คาถาสรูป ]
ภิกษุผู้สำรวม ทรงผ้าบังสุกุล เพื่อกำจัดมาร
และเสนามาร ย่อมงาม ดังกษัตริย์ผู้ทรงสวมเกราะ
แล้วงามสง่าอยู่ในที่รบฉะนั้น ผ้าบังสุกุลใด แต่
องค์พระผู้เป็นครูของโลกยังทรงละผ้าอย่างดีๆ มี
ผ้ากาสีเป็นต้นเสียแล้วมาทรงใช้ ใครจะไม่พึงใช้
ผ้าบังสุกุลนั้น (โดยเสด็จ) เล่า เพราะเหตุนั้นแล
ภิกษุเมื่อระลึกถึงคำปฏิญญาของตน” จึงเป็นผู้ยินดี
ในผ้าบังสุกุล อันอนุกูลแก่การบำเพ็ญเพียร เทอญ.
นี้เป็นคำพรรณนาการสมาทาน วิธี (ปฏิบัติ) ประเภท ความ
แตก และอานิสงส์ในปังสุกุลกังคะ เป็นอันดับแรก
๑. องฺ. จตุกฺก. ๒๐/๓๔.
๒. ยุติธรรม มี ๕ คือ อปปิจฉตา สันตุฏฺฐิตา สลเลขตา ปวิเวกตา อิทมตฺถิตา (ดูตอนแก้
ธุตธรรม วิสุทธิมรรค หน้า ๑๐๑).
๓. ท่านหมายถึงคำรับ "อาม ภนฺเต" ของภิกษุใหม่ เมื่อพระอนุสาสนาจารย์บอกอนุศาสน์จบ
ในโรงอุปสมบท