ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ -
- หน้าที่ 90
จีวร ภิกษุพึงพิจารณาทุกคราวที่บริโภค บิณฑบาต พึงพิจารณา
ทุกคำกลืน เมื่อไม่อาจอย่างนั้น จึงพิจารณาในกาลก่อนฉัน ภาย
หลังฉัน ในยามต้น ยามกลาง ยามสุดท้าย (เวลาใดเวลาหนึ่ง)
ถ้าเมื่อภิกษุนั้นไม่พิจารณาเสียเลยจนอรุณขึ้น เธอย่อมตั้งอยู่ในฐาน
อิณบริโภค แม้เสนาสนะเล่าก็พึงพิจารณาทุกคราวที่ใช้สอย ความ
มีสติกำกับ ทั้งในขณะรับ ทั้งในขณะบริโภคเภสัช ย่อมควร แม้
เช่นนั้น เมื่อภิกษุทำสติในเวลารับแล้ว ไม่ได้ทำในเวลาบริโภคเท่านั้น
เป็นอาบัติ แต่ไม่ได้ทำสติในเวลารับ ไปทำในเวลาบริโภค หาเป็น
อาบัติไม่
ก็สุทธิมี ๔ อย่าง คือ
เทสนาสุทธิ
(หมดจดด้วยการแสดง)
สังวรสุทธิ
(หมดจดด้วยสังวร)
ปริเยฏฐิสุทธิ
(หมดจดด้วยการแสวงหา)
ปัจจเวกขณสุทธิ
(หมดจดด้วยการพิจารณา)
ในสุทธิ ๔ อย่างนั้น ปาฏิโมกขสังวรศีล ชื่อเทสนาสุทธิ เหตุ
'ว่าปาฏิโมกขสังวรศีลนั้น ท่านเรียกว่าเทสนาสุทธิ เพราะหมดจด
ด้วยการแสดง อินทรียสังวรศีล ชื่อว่าสังวรสุทธิ เหตุว่าอินทรีย
สังวรศีลนั้น ท่านเรียกว่าสังวรสุทธิ เพราะหมดจดด้วยสังวร โดย
ตั้งใจว่า "เราจักไม่ทำอย่างนี้อีก" อาชีวปาริสุทธิศีล ชื่อว่าปริเยฏฐิ
สุทธิ เหตุว่าอาชีวปาริสุทธิศีลนั้น ท่านเรียกว่าปริเยฏฐิสุทธิ์ เพราะ
หมดจดด้วยการแสวงหา แห่งภิกษุผู้ละอเนสนา ยังปัจจัยให้เกิดขึ้น