ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 14
เจตนาของบุคคลผู้เว้นจากโทษมีปาณาติบาตเป็นต้นก็ดี ของบุคคล
ผู้บำเพ็ญวัตรปฏิบัติก็ดี ชื่อว่าเจตนาศีล ความงดเว้นของบุคคลผู้เว้น
จากโทษมีปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่าเจตสิกศีล อีกอย่างหนึ่ง เจตนา
ในกรรมบถ ๓ ของบุคคลผู้ละโทษมีปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่าเจตนา
ศีล ธรรมคือ อนภิชฌา อพยาบาท และสัมมาทิฏฐิ ที่ตรัสไว้
โดยนัยว่า "ภิกษุละอภิชฌา มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่" ดังนี้เป็นต้น
ชื่อว่าเจตสิกศีล.
[ สังวร ๕ ]
ในข้อว่า "สังวรก็เป็นศีล" นี้ พึงทราบสังวร โดยอาการ
คือ ปาฏิโมกข์สังวร สติสังวร ญาณสังวร ขันติสังวร วิริยสังวร
ในสังวร ๕ อย่างนั้น สังวรที่ตรัสไว้ว่า "ภิกษุเป็นผู้เข้าถึงแล้ว
เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยปาฏิโมกขสังวรนี้" นี้ชื่อว่าปาฏิโมกข
สังวร. สังวรที่ตรัสไว้ว่า ภิกษุย่อมรักษาอินทรีย์คือจักษุ ย่อมถึงความ
สังวร ไรอินทรีย์คือจักษุ” (เป็นต้น) นี้ชื่อว่าสติสังวร สังวรที่กล่าว
ไว้ว่า
"พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนอชิตะ
กระแส [แห่งตัณหา] ทั้งหลายเหล่าใดมีอยู่ในโลก
สติเป็นเครื่องกั้นกระแสเหล่านั้น เรากล่าวสติว่า
เป็นเครื่องกั้นกระแสทั้งหลาย แต่กระแส
เหล่านั้นอันผู้ปฏิบัติจะละได้ด้วยปัญญา"
๑. ที. ซี. ๕/๕๔, ๒. อภิ, วิ. ๒๕/๓๓๑, ๓. อง, ตึก. ๒๐/๑๔๓, ๔. ข, งู, ๓๐/๑๖.