วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - ประโยค๘ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 160
หน้าที่ 160 / 184

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการดำรงชีวิตของภิกษุในวิหารและอุปสรรคในการเดินทางไปบ้าน อธิบายถึงความสำคัญของการรักษาธุดงค์ให้บริสุทธิ์ การนำอาจารย์ไปยังเสนาสนะ และประเภทของอารัญญิกภิกษุที่มีอยู่ ๓ พวก โดยแสดงถึงวิธีการอยู่อาศัยในช่วงฤดูกาลต่าง ๆ อย่างเหมาะสมไม่ว่าจะเป็นฤดูฝนหรือฤดูเหมันต์.

หัวข้อประเด็น

-อารัญญิกภิกษุ
-การรักษาธุดงค์
-ข้อบังคับการเดินทาง
-การอุปัฏฐากอาจารย์
-ประเภทภิกษุในฤดูกาลต่าง ๆ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - - หน้าที่ 156 วิหาร ตรงไปในระหว่าง ๒ เลฑฑบาต เหมือนวัดอุปจารบ้าน, นี้เป็น ประมาณในวิธีวัดนี้ แม้ถ้าบ้านอยู่ใกล้ ภิกษุอยู่ในวิหารได้ยินเสียง คนชาวบ้าน แต่ไม่อาจจะเดินตรงไป (สู่บ้านนั้น) ได้ เพราะมีภูเขา หรือแม่น้ำเป็นต้นคั่นอยู่ในระหว่าง ทางใดเป็นทางปกติของบ้านนั้น แม้ถ้าจะต้องไปด้วยเรือ ก็พึงถือเอา ๕๐๐ ชั่วธนูโดยทางนั้น, แต่ภิกษุใด แกล้งปิดทางแต่ที่นั้น ๆ (อันเป็นทางเดินตรงไปสู่บ้านได้ ไม่ถึง ๕๐๐ ชั่วคันธนู) เสีย เพื่อยังองค์แห่งบ้านใกล้ให้ถึงพร้อม (คือเพื่อให้ต้อง เดินอ้อมไปให้ได้กำหนด ๕๐๐ ชั่วคันธนู ดังลักษณะบ้านใกล้ มีแม่น้ำ คั่นที่กล่าวข้างต้น) ภิกษุนี้ชื่อว่า ธุดงคโจร, ก็ถ้าอุปัชฌาจารย์หรือ อาจารย์ของอารัญญิกภิกษุเป็นไข้ไป เธอหาสิ่งสัปปายะ (ที่จะเป็น เครื่องรักษาอาจารย์) ไม่ได้ ก็พึงนำท่านไปสู่เสนาสนะชายบ้าน อุปัฏฐากท่านเถิด. แต่เธอจึงออกไปแต่เช้ามืด ยังอรุณ ให้ตั้งขึ้นในที่ อันประกอบด้วยองค์, ถ้าในเวลาอรุณจะขึ้น อาพาธของท่านกำเริบ ก็ควรทำกิจเพื่อท่านนั่นเถิด ไม่พึงเป็นธุตังคสุทธิก (ผู้มุ่งจะรักษาธุดงค์ ให้บริสุทธิ์ไปท่าเดียว) เลย [ ประเภทแห่งอารัญญิกภิกษุ] ว่าโดยประเภท แม้อารัญญิกภิกษุนี้ก็มี ๓ พวก ใน ๓ พวกนั้น ท่านผู้ถืออย่างอุกฤษฎ์ ต้องยังอรุณให้ตั้งขึ้นในป่าตลอดกาลทั้งปวง ผู้ ถืออย่างกลาง ย่อมได้เพื่อจะอยู่ในเสนาสนะชายบ้านตลอด 4 เดือน ฤดูฝน ผู้ถืออย่างเพลา ย่อมได้เพื่อจะอยู่ตลอด 4 เดือนฤดูเหมันต์ด้วย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More