ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ -
- หน้าที่ 123
ฉะนั้น ผ้านั้นจึงชื่อว่า ปังสุกุล (ผ้าดุจกองฝุ่น) อีกนัยหนึ่ง ผ้าชื่อว่า
ปังสุกุล เพราะไปสู่ภาวะแห่งผ้าอันบุคคลเกลียด อธิบายว่า ถึงความ
เป็นผ้าที่เขาเกลียด ดุจฝุ่น การทรงไว้ซึ่งผ้าบังสุกุลที่มีคำไขอันได้แล้ว
อย่างนั้น ชื่อ ปังสุกุล ความทรงผ้าบังสุกุลเป็นปกติของภิกษุนั้น
เหตุนั้น ภิกษุนั้นจึงชื่อว่า ปังสุกุลกะ องค์แห่งภิกษุปังสุกุลกะ ชื่อว่า
ปังสุกุลกังคะ, เหตุ ท่านเรียกว่า องค์. เพราะฉะนั้นพึงทราบว่า
คำว่า องค์ นั้น เป็นชื่อของการสมาทาน ซึ่งเป็นเหตุแห่งความเป็น
ปังสุกูลิกะแห่งภิกษุนั้น.
โดยนัยเดียวกันนี้ (การทรง) ไตรจีวร กล่าวคือ สังฆาฏิ
อุตตราสงค์ อันตราวาสก เป็นปกติแห่งภิกษุนั้น เหตุนั้น ภิกษุนั้นจึง
ชื่อว่าเตจีวริกะ องค์แห่งภิกษุเตจีวริกะ ชื่อว่า เตจีวริกังคะ
ก็การตกแห่งก้อนอามิสกล่าวคือภิกษานั่นแล ชื่อว่าบิณฑบาต
อีกนัยหนึ่ง การตกลงแห่งก้อนข้าวอันชนเหล่าอื่นให้แล้วนั่นแล ชื่อว่า
บิณฑบาต มีคำอธิบายว่า การตกลงในบาตรแห่งก้อนข้าวที่คนอื่นให้
ภิกษุใดแสวงหา คือ การเข้าไปสู่ตระกูลนั้น ๆ แสวงหาซึ่งบิณฑบาต
นั้น เหตุนั้น ภิกษุนั้นชื่อว่า ปิณฑปาติกะ (ผู้แสวงหาบิณฑบาต)
อีกอย่างหนึ่ง การตกไปเพื่อก้อนข้าวเป็นวัตรของภิกษุนั้น เหตุนั้น
ภิกษุนั้น ชื่อว่าปิณฑปาตี คำว่าตกไป (ในที่นี้) หมายความว่า
เที่ยวไป, ปิณฑปาตีนั่นเอง ชื่อว่าปิณฑปาติกะ องค์แห่งภิกษุ
*
มหาฎีกาว่า ปัสกูลธารณ์ เป็น ปัสกูล ไปนั้น เพราะลบบทหลัง (คือ ธารณ์) และ
คำว่า ปัสุกูล แปลกันว่า "ผ้าดุจฝังฝุ่น" ก็มี