วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 149
หน้าที่ 149 / 184

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงการอนุโลมในเรื่องการรับบาตรของภิกษุและผลของการทำสปทานจาริก ทั้งยังอธิบายอานิสงส์ที่เกิดขึ้นจากการประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้อง อาทิเช่น การไม่ติดข้องดั่งดวงจันทร์ มีความมักน้อย และการเป็นผู้ใหม่ในตระกูลตลอด.

หัวข้อประเด็น

-ความแตกต่างของสปทานจาริก
-อานิสงส์แห่งสปทาน
-การประพฤติของภิกษุ
-การทำจิตไม่ติดข้อง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 145 มาขอรับบาตร) ก็ปล่อยบาตร (ให้เขารับไป) ได้ แต่ย่อมไม่นั่งคอย ภิกษา โดยข้อที่ไม่นั่งคอยภิกษาอย่างนี้ ชื่อว่าอนุโลมตามภิกษุ ปิณฑปาติกะอย่างอุกฤษฎ์ ผู้ถืออย่างเพลา ย่อมนั่งคอย (ภิกษา) ในวันนั้นได้. [ ความแตกแห่งสปทานจาริกังคะ ] ก็ธุดงค์ของสปทานจาริกภิกษุทั้ง ๓ พวกนี้ แต่พอการเที่ยวไป ด้วยความละโมบเกิดขึ้นก็ย่อมแตก นี้เป็นความแตกในสปทาน จาริกังคะนี้. [ อานิสงส์แห่งสปทานจารทั้งคะ ] ส่วนอานิสงส์ดังต่อไปนี้ คือ (๑) เป็นผู้ใหม่ในตระกูลเป็นนิตย์ (๒) มีใจไม่ติดข้องดั่งดวงจันทร์ (๓) ละความตระหนี่ในตระกูล เสียได้ (๔) ได้อนุเคราะห์ (ทายก) สม่ำเสมอกัน (๕) ไม่มีโทษ อันจะพึงมีแก่กุอุปกภิกษุ (๖) ไม่ต้องจ้อง (ฟัง) คำขานชื่อ (ในการ นิมนต์) (๒) ไม่ต้องการด้วยการนำภิกษามาเฉพาะตัว (4) มีความ ประพฤติสมควรแก่ธุตธรรม มีความมักน้อยเป็นต้น [ คาถาสรูป] สปทานจารีภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเป็นผู้มีใจ ไม่ติดข้องดั่งดวงจันทร์ เป็นผู้ใหม่ในตระกูล เป็นนิจ ไม่ตระหนี่ (ตระกูล) เป็นผู้อนุเคราะห์
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More