วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้า 146 วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 150
หน้าที่ 150 / 184

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงคำสอนในวิสุทธิมรรค โดยเน้นที่การสมาทานและวิธีปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับเอกาสนิกังคะ สำหรับภิกษุผู้มีปัญญา ซึ่งรวมถึงการกำหนดอาสนะที่เหมาะสมและการรักษากฎระเบียบในการฉันของภิกษุ เพื่อให้การบิณฑบาตมีความเหมาะสมและปราศจากโทษ โดยเน้นความสำคัญของการปฏิบัติตามคำสอนอย่างเคร่งครัดเพื่อสร้างความสงบและสมาธิ

หัวข้อประเด็น

-การสมาทาน
-วิธีปฏิบัติในเอกาสนิกังคะ
-บทบาทของภิกษุ
-การฉันและอาสนะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - - หน้าที่ 146 ทายกทั้งปวงโดยสม่ำเสมอกัน ปลอดจากโทษ อันจะพึงมีแก่กุอุปกภิกษุ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้มี ปัญญา เมื่อหนังเที่ยวไปโดยเสรี พึงละความเที่ยว ไปโดยความละโมบเสีย เที่ยว (บิณฑบาต) ให้เป็นไปตามลำดับเรือน เทอญ. นี้เป็นคำพรรณนาการสมาทาน วิธี (ปฏิบัติ) ความแตก และอานิสงส์สปทานจาริกังคะ ๕. เอกสนิกังคะ [ การสมาทานเอกาสกังคะ ] แม้เอกาสนิกังคะ ก็เป็นอันสมาทานด้วยคำสองคำนี้ คำใดคำ หนึ่งว่า นานาสนโภชน์ ปฏิกขิปามิ ข้าพเจ้างดการฉัน ณ อาสนะต่าง เอกาสนิกค์ สมาทิยามิ ข้าพเจ้าสมาทานองค์แห่งภิกษุผู้มีการฉัน ณ อาสนะเดียวเป็นปกติ [วิธี (ปฏิบัติ) ในเอกาสนิกังคะ] ก็เอกาสนิกภิกษุนั้น เมื่อจะนั่งในโรงฉัน อย่านั่งที่เถรอาสน์ พึงกำหนดอาสนะอันสมควร ว่าอาสนะนี้จักถึงแก่ตน แล้วจึงนั่ง ถ้า การฉันของเธอค้างอยู่ อาจารย์หรืออุปัชฌาย์มา ลุกขึ้นทำวัตร ย่อม ควร ส่วนพระปิฎกจุฬาภัยเถระกล่าวว่า อาสนะพึงรักษา หรือว่า การฉันพึงรักษา (มิใช่ธุดงค์แตก) ก็ตาม แต่เพราะภิกษุนี้เป็นผู้ฉัน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More