ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 56
เป็นแห่งบุคคลผู้ลวง ชื่อว่า กุจิตต์
[ ลปนานิเทศ ]
พึงทราบอรรถาธิบายในลปนานิเทศต่อไป การที่ภิกษุเห็นคน
มาสู่วิหาร แล้วพูดขึ้นก่อนว่า "ท่านผู้เจริญ ท่านทั้งหลายมาเพื่อ
ต้องการอะไร จะนิมนต์ภิกษุหรือ ถ้าอย่างนั้น เชิญกลับเถิด อาตมา
จะพาภิกษุไปภายหลัง" ดังนี้ชื่อว่า อลปนา (ทัก) อีกนัยหนึ่ง
การที่ภิกษุเสนอตนเข้าไป พูดแบบชักเข้าหาตนว่า "อาตมาชื่อดิส
พระราชาทรงเลื่อมใสในอาตมา ราชมหาอำมาตย์โน้น ๆ ก็เลื่อมใส
ในอาตมา" อย่างนี้ก็ชื่อว่า อาลนปา (เสนอตัว) การที่ภิกษุ
ถูกถามแล้วพูดอย่างที่กล่าวมาแล้วนั้น ชื่อว่า ลปนา (โอ) การที่
ภิกษุกลัวพ่อเจ้าเรือนและแม่เจ้าเรือนทั้งหลายจะหน่ายแหนง
อ่อนน้อมยอมให้โอกาสเขา ชื่อว่า สกุลปนา (พูดเอาใจ) การพูด
ทำให้เขาสูงขึ้น (กว่าพื้นเพที่เขาเป็นอยู่) ว่า "ท่านกุฎมพี่ใหญ่
ท่านนายเรือใหญ่ ท่านทานบดีใหญ่" ดังนี้ ชื่อว่า อุลุลปนา
(พูดยก) การพูดทำให้เขาสูงไปเสียทุกอย่าง
(พูดยอ) การผูก คือมัดเขาด้วยวาจาว่า
พูด
ชื่อว่า สมดุลปนา
"ดูกรอุบาสกอุบาสิกา
ทั้งหลาย เมื่อก่อน ในกาลเช่นนี้ พวกท่านย่อมให้นวทาน” บัดนี้
ไม่ให้ดอกหรือ" ดังนี้ หนักเข้าจนพวกเขารับปากว่า "ท่านเจ้าข้า
พวกข้าพเจ้าจักให้ (เหมือนกัน) แต่บัดนี้ยังไม่ได้โอกาส" ดังนี้
* นวทาน การให้ของที่ผลิตใหม่ เช่นข้าวใหม่ ผลไม้สุกใหม่