กุหนวัตถุและปัจจัยในพระศาสนา วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 55
หน้าที่ 55 / 184

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้เน้นการวิเคราะห์เกี่ยวกับกุหนวัตถุในพระศาสนาและแนวความคิดที่อยู่เบื้องหลังของการใช้ปัจจัยต่างๆ เช่น จีวร บิณฑบาต รวมถึงความต้องการที่มีต่อสมณะ โดยการยกตัวอย่างถึงการทำตัวเป็นผู้มีความพอเพียง โดยไม่สนใจต่อสิ่งของที่มีค่ามาก บทเรียนที่นำเสนอช่วยให้เข้าใจการวิเคราะห์ความจริงแท้ในชีวิตและส่งเสริมให้ผู้คนมีความเข้าใจในความพอเพียง วิธีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย

หัวข้อประเด็น

-กุหนวัตถุ
-ปัจจัยในพระศาสนา
-การมัดน้อยและความพอเพียง
-การดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย
-การวิเคราะห์ความต้องการในชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 52 [ กุหนวัตถุเกี่ยวด้วยปัจจัย ] จริงอยู่ แม้ในมหานิเทศท่านก็ได้กล่าวคำนี้ไว้ว่า "กุหนวัตถุที่ นับว่าการแสร้งปฏิเสธปัจจัยเป็นไฉน ? คฤหบดีทั้งหลายนิมนต์ภิกษุ ในพระศาสนานี้ ด้วยจีวรบิณฑบาตเสนาสนะคิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร ทั้งหลาย เธอมีความปรารถนาลามก อันความอยากครอบงำแล้ว เป็นผู้มีความต้องการอยู่ แสร้งบอกคืนจีวร แสร้งบอกคืนบิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชชบริขาร เพราะอาศัยความใคร่จะให้ได้จีวร ฯลฯ เภสัชชบริขารมากขึ้น เธอกล่าวอย่างนี้ว่า "ประโยชน์อะไร ของสมณะด้วยจีวรที่มีค่ามาก ข้อที่สมณะพึงเลือกหาผ้าที่เขาทิ้งแล้ว จากป่าช้าบ้าง จากกองหยากเยื่อบ้าง จากตลาดบ้าง มาทำเป็นผ้า สังฆาฏิครอง นั่นจึงควร ประโยชน์อะไรของสมณะด้วยบิณฑบาตที่ มีค่ามาก ข้อที่สมณะจึงเลี้ยงชีวิตด้วยก้อนข้าวที่ได้มาด้วยปลีแข้ง โดยเที่ยวแสวงหาบิณฑบาตตามมีตามได้ นั่นจึงควร ประโยชน์อะไร ของสมณะด้วยเสนาสนะที่มีค่ามาก ข้อที่สมณะพึงเป็นผู้อยู่ตามโคน ไม้ หรืออยู่ในอัพโภกาส นั่นจึงควร ประโยชน์อะไรของสมณะด้วย คิลานปัจจัยเภสัชชบริขารที่มีค่ามาก ข้อที่สมณะจึงทำน้ำยาด้วยน้ำมูตร เน่าหรือด้วยชิ้นสมอ นั่นจึงควร" เพราะอาศัยเหตุนั้น เธอจึงแสร้ง ครองจีวรที่ปอน แสร้งฉันบิณฑบาตที่ทราม แสร้งเสพเสนาสนะที่คร่ำ แสร้งเสพคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารที่เลว คฤหบดีทั้งหลายเข้าใจเธอ อย่างนี้ว่า "สมณะรูปนี้เป็นผู้มักน้อย สันโดษ สงัด ไม่ระคนด้วยหมู่ ปรารภความเพียร มีปกติกล่าวะรรมขจัดกิเลส" ดังนี้ ย่อมนิมนต์เธอ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More