วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 33 วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 35
หน้าที่ 35 / 184

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้มีการอธิบายถึงศีล ๔ ประเภท เช่น ปาฏิโมกขสังวรศีล ซึ่งเน้นการสำรวมของภิกษุไม่ให้ละเมิดศีลและการรักษาวินัย อาทิเช่น การไม่ถือเอานิมิตและอนุพยัญชนะ โดยมีการยกตัวอย่างการรักษาจักขุนทรีย์และอารมณ์ที่เกี่ยวข้องกับการฟังหรือเห็นต่าง ๆ เพื่อให้ภิกษุมีความระมัดระวังและสำรวมตนในธรรม

หัวข้อประเด็น

-ศีลในพุทธศาสนา
-ปาฏิโมกขสังวรศีล
-อินทรียสังวรศีล
-วินัยของภิกษุ
-การสำรวมในธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - - หน้าที่ 33 มีพระมหากัสสปะเป็นอาทิ และของพระโพธิสัตว์ ชื่อว่าปุพพเหตุกศีล (ศีลมีเหตุอันสำเร็จมาแต่ในชาติปางก่อน ๆ) พึงทราบศีลเป็น ๔ อย่าง โดยปกติศีลเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้ [ จตุกกะที่ ๔] พึงทราบวินิจฉัยในจตุกกะที่ ๔ ต่อไป [ ปาฏิโมกขสังวรศีล ] ศีลใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า "ภิกษุใดในศาสานนี้เป็นผู้ สำรวมด้วยปาฏิโมกขสังวรอยู่ ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจร มีปกติ เห็นเป็นภัยในโทษมาตรว่าเล็กน้อย สมาทานศึกาาอยู่ในสิกขาบท ทั้งหลาย" ดังนี้ ศีลนี้ชื่อปาฏิโมกขสังวรศีล [ อินทรียสังวรศีล ] ส่วนศีลใดที่ตรัสไว้ว่า "ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว เป็นผู้ไม่ ถือเอานิมิต ไม่ถือเอาอนุพยัญชนะ” อภิชฌาโทมนัสทั้งหลาย ธรรม ทั้งหลายอันเป็นบาปเป็นกุศล จะพึงไหลไปตามภิกษุผู้ไม่สำรวม จักขุนทรีย์อยู่ เพราะเหตุไม่สำรวมจักขุนทรีย์อันใด ย่อมปฏิบัติเพื่อปิด กั้นเสียซึ่งจักขุนทรีย์นั้น รักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์ เธอฟังเสียงด้วยโสตะแล้ว ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ฯลฯ ลิ้ม รสด้วยชิวหาแล้ว ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้ ธรรมารมณ์ด้วยมนะแล้ว ๑. อภ. ว. ๒๕/๓๒๘. ไม่ถือเอานิมิต ไม่ถือเอาอนุพยัญชนะ ๒. เราเคยแปลกันว่า ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ แต่ในคัมภีร์นี้ท่านให้แปลว่าไม่ถือ ซึ่งนิมิต ไม่ถือซึ่งอนุพยัญชนะ ดังจะปรากฏในตอนแก้อรรถอินทรียสังวรศีล
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More