วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 52
หน้าที่ 52 / 184

สรุปเนื้อหา

บทที่นี้กล่าวถึงความงดงามของท่าอิริยาบถของภิกษุที่ถูกความอยากลามกครอบงำ โดยอธิบายถึงการป้อยอและการหลอกลวงที่เกิดขึ้นจากการแสดงออกทางกายและการพูด โดยมีการอ้างถึงกุหนวัตถุซึ่งมี ๓ วิธีในการล่อใจ ทั้งการปฏิเสธปัจจัยหรือการพูดเลียบเคียงเพื่อให้เกิดความเชื่อใจและศรัทธาในตนเอง นอกจากนี้ยังการทำให้ผู้ถวายเกิดความรู้สึกว่าตนเป็นผู้มีเมตตา โดยร่วมกล่าวถึงอันตรายของการถูกหลอกลวงในทางศาสนา

หัวข้อประเด็น

-ความงดงามของอิริยาบถ
-การป้อยอในพระพุทธศาสนา
-วิธีการล่อลวง
-กุหนวัตถุ
-อิทธิพลของความอยาก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 49 ท่าอิริยาบถให้งดงามก็ดี ของภิกษุผู้เห็นแก่ลาภสักการะและความสรร เสริญ มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำแล้ว นี้เรียกว่า "ล่อลวง." บรรดากิริยาเหล่านั้น ป้อยอเป็นไฉน ? การพูดทักเขาก่อน พูดโอ่ พูดเอาใจเขา พูดยกยอเขา พูดผูกพันเขา พูดคาดคั้นเขา พูด ประจบเขา (พูด) ลดตัว พูด (เล่นปนจริง) เป็นแกงถั่ว (พูด ประจ๋อประแจ) เป็นพี่เลี้ยงเด็ก อันใด ของภิกษุผู้เห็นแก่ลาภสักการะ และความสรรเสริญ มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ แล้ว นี้เรียกว่า "ป้อยอ " บรรดากิริยาเหล่านั้น ความเป็นผู้ทำให้เป็นไฉน ? การทำ ปุ๋ยใบ้ บอกใบ้ พูดเคาะ พูดแคะได้ พูดเลียบเคียง พูดหว่านล้อม * ตามมหานิเทศว่า กุหนวัตถุ (วิธีล่อลวง) มี ๓ คือ ๓ ด. แสร้งปฏิเสธปัจจัย ๒. พูด เลียบเคียง แสดงอิริยาบถให้น่าเลื่อมใส ในนิเทศแห่งกุหนานี้ ท่านก็กล่าวกุหนวัตถุไว้ ครบทั้ง ๓ นั้น มี "วา" นิบาตกำกับอยู่ด้วย แต่ในทางไวยากรณ์ ท่านทำรูปศัพท์ไว้ไม่เสมอกัน คือกุหนวัตถุที่ ๑ ที่ ๒ ทำเป็นตติยาวิภัติ ส่วนกุหนวัตถุที่ ๓ เป็นปฐมาวิภัติ ถ้าจับไม่มั่นก็ชวนให้ แปลเขวไป ได้ยึดกหนวัตถุ ๓ เป็นหลัก แปลไว้ตามนั้น โปรดพิจารณาให้ดีเถิด က อนึ่ง กุหนวัตถุที่ ๑ ตามคัมภีร์ของเรา (ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๘๒) เป็น ปจฺจยปฏิเสวน ทั้งนั้น แต่คัมภีร์ของสีหลเป็น ปจจยปฏิเสธน พิจารณาดูความในมหานิเทศตลอดแล้ว เห็นว่า..... ปฏิเสธน ถูก ท่านกล่าวไว้ชัดว่า ทายกนิมนต์รับปัจจัย ภิกษุก็อยากได้ แต่แสร้งปฏิเสธ คือไม่รับ เพื่อให้เขาเห็นว่าเป็นผู้มักน้อย จะได้เกิดศรัทธาถวายของดี ๆ มาก ๆ ขึ้น และอ้อนวอนขอให้รับ ให้จงได้ ในที่สุดก็รับ โดยแสร้งแสดงว่า เพื่ออนุเคราะห์ให้เขาได้บุญ แล้วต่อไปถวาย เป็น เล่มเกวียน ๆ ก็รับ ฯลฯ ดังนี้ ในที่นี้จึงแปลเป็น "ปฏิเสธปัจจัย" ทุกแห่ง แต่เพราะมิใช่ ปฏิเสธจริง จึงเติมคำว่า แสร้ง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More