ความผาสุกและการบริโภคตามหลักธรรม วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 1 หน้า 72
หน้าที่ 72 / 184

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้สนับสนุนให้ภิกษุเข้าใจถึงการเลือกอาหารและการบริโภคอย่างพอประมาณเป็นปัจจัยหนึ่งของความสุข และความไม่มีโทษในสถานะของตน โดยการเว้นจากการบริโภคที่ไม่เหมาะสม จึงเกิดความแข็งแรงและผาสุกในร่างกาย การเข้าถึงการปฏิบัติตามหลักธรรมเช่นนี้จำเป็นต้องมีการกำหนดระเบียบวินัยในจิตใจและอิริยาบถ.

หัวข้อประเด็น

-ความผาสุก
-การบริโภคในทางธรรม
-แนวทางการปฏิบัติของภิกษุ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๑ ตอน ๑ - หน้าที่ 69 ชตา จ ผาสุวิหาโร จ ความว่า ภิกษุคิดว่า 'ความหาโทษมิได้ จักมีแก่เรา ด้วยเว้นการแสวงหา การรับ และการบริโภคที่มิชอบเสีย และความอยู่ผาสุกจักมีแก่เราด้วยบริโภคพอประมาณ ดังนี้ นัยหนึ่ง ว่า "ความหาโทษมิได้ โดยไม่มีโทษต่าง ๆ เช่นความกระสัน ความคร้าน ความอืดอาด ความถูกผู้รู้ติเตียนเป็นต้น เพราะบริโภคของ ที่ไม่เป็นสัปปายะและบริโภคเกินประมาณเป็นปัจจัย จักมีแก่เรา และ ความผาสุกโดยมีร่างกายแข็งแรง เพราะบริโภคอาหารที่เป็นสัปปายะ และบริโภคพอประมาณเป็นปัจจัย จักมีแก่เรา" ดังนี้บ้าง นัยหนึ่งว่า "ความหาโทษมิได้โดยละสุขในการนอน สุขในการเอกเขนก สุขใน การหลับเสียได้ จักมีแก่เรา ด้วยเว้นบริโภคอาหารตามที่ต้องการจน เต็มท้อง และความผาสุก โดยอิริยาบถ ๔ ดำเนินไปสมประกอบ จักมีแก่เรา ด้วยบริโภคอาหารให้หย่อนไว้สัก ๔ - ๕ คำ" ดังนี้บ้าง แล้วการเสพ (บิณฑบาต) สมดังคำประพันธ์ที่กล่าวไว้ว่า โยคาวจรภิกษุพึงเลิกบริโภค (ก่อนจะอิ่ม) ๔ - ๕ คำ แล้วดื่มน้ำ การบริโภคเพียงเท่านี้ ก็พอแล้วเพื่อความอยู่ผาสุก แห่งภิกษุผู้มีตน ส่งไปแล้ว (คือไม่อาลัยในร่างกายและชีวิต) ดังนี้ การกำหนดถือเอาประโยชน์ และข้อปฏิบัติสายกลาง จึงทราบ ว่าเป็นอันทรงแสดงแล้วด้วยปาฐะเพียง ๓ บทนี้ (มีบทว่า ยาตรา เป็นอาทิ)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More